การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

พัชราภรณ์ วงษ์เพชร
อาทิตย์ อาจหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ 3) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ (3) แบบวัดความสามารถในการเขียนแผนการตลาดและแผนธุรกิจ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานการเรียนรู้แตกต่างกัน ทั้งนี้จึงควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค จิ๊กซอว์
2. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ พบว่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.00/82.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ไม่น้อยกว่าที่กำหนด คือ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ พบว่า นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจสูงกว่าห้องเรียนปกติ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ พบว่า มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจและการเขียนแผนธุรกิจ วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัญญารัตน์ นามสว่าง และคณะ. (2564). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 100-113.

จรัญ ยินยอม. (2552). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชนัญญา ยอรัมย์. (2558). ผลการใช้ชุดการเรียนเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธีโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มนัสดา ชัยสวนียากรณ์ และมงคล กิตติวุฒิไกร. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่อง การบัญชี พาณิชยกรรม สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Ninomiya, H., & Pusi, P. (2015). The study of open-ended approach in mathematics teaching using jigsaw method: A Case Study of the water beaker problem. Journal of Saitama University (Faculty of Education), 64(2), 11-22.

Dhugyala, V. R. (2016). Understanding jigsaw cooperative learning: Influence on scholastic achievement and learning experiences of students in mathematics education. The International Journal of Indian Psychology, 3(4), 101-106.

Office of the Vocational Education Commission. (2017). Vocational education development plan 2017-2036. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.