การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

Main Article Content

ภาณุเดช ศรีมงคล
อาทิตย์ อาจหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง 2) เปรียบเทียบทักษะในการประดิษฐ์ใบตองของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1 ที่เรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่เรียน วิชางานใบตอง สาขาคหกรรมศาสตร์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 ห้อง ปวช.1/1 จำนวน 21 คน โดยการสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) แบบวัดทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง เรื่องพื้นฐานการประดิษฐ์งานใบตอง 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ในเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง สถิติในการวิจัยที่เป็นการใช้กับกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียว (One-Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคหกรรมศสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.5/92.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 70/70
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะทางการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70
3. นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชางานใบตอง อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ย  (gif.latex?\bar{x} = 4.50) และมีสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.52)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2554). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาการจัดแสงเพื่องานออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐวุฒิ บุญบรรลุ. (2559). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่ ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง อาเซียนศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีปะกร ศรีจันทร์. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นวรัตน์ แซ่โคว้. (2553). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบความจริงเสมือนเรื่อง การแนะนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุษกร เข่งเจริญ. (ม.ป.ป.) บรรจุภัณฑ์จากใบตองและใบเตย: อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบทอดภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.

Office of the Vocational Education Commission. (2017). Vocational education development plan 2017-2036. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Simpson, D. (1972). Teaching physical education: A system. Boston: Houghton Mufflin Co.