การจัดการเรียนรู้กับความสมดุลของการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

Main Article Content

โสภนา สุดสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ นำเสนอเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ หลักการองค์ประกอบ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงของการจัดการเรียนรู้ ระบบนิเวศการเรียนรู้ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงหลากหลายด้านโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและด้านสังคมส่งผลการจัดการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้การจะจัดการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้และการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้วย โดยจากการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมการเรียนรู้เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับบุคคลอื่นเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม การแบ่งปันความรู้ และการถ่ายโอนความรู้ที่จะช่วยในองค์การมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ระบบนิเวศการเรียนรู้เป็นเป็นวิธีการแบบองค์รวมเพื่อการศึกษาที่บูรณาการแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ใช้พื้นที่ทางกายภาพและเสมือนจริงเข้าด้วยกันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และกระตุ้นการเติบโตทางปัญญา เน้นการพัฒนาตนเองจากสิ่งง่ายๆไปสู่สิ่งยากโดยต้องมีเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมการเรียนรู้ ระบบนิเวศการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้พบว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเมื่อสถานศึกษามีวัฒนธรรมการเรียนรู้และระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ดีย่อมทำให้การจัดการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริศรา ใจคง และสิริกานต์ แก้วคงทอง. (2564). นิเวศการเรียนรู้: เรื่องเก่าบนวิถีใหม่. วารสารการศึกษาไทย, 18(3), 64-69.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. (2557). หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้. ในคู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: ศูนย์เรียนรู้การผลิตและจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอล.

รสรินทร์ แก้วเกิด. (2565). ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ New normal. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิทยา พัฒนเมธาดา. (2560). หลักการพื้นฐานในจัดการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก https://www.kansuksa.com/8/Neittaanmaki

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สนธยา วิบูลย์ศิลป์. (2560). ปัจจัยทางด้านวิชาการที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สาวิตรี มาตรขาว. (2560). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2566). Embracing a culture of lifelong learning สู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. เข้าถึงได้จาก https://event.educathai.com/educa2021/online-workshop/2745

อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2566). สร้างวัฒนธรรม “ชอบเรียนรู้”. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/business/508145

Anderson, T. P. (1997). Using models of instruction. In C. R. Dills and A. J. Romis Zowski (Eds.), Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ: Education Technology Publications.

Bates, R., & Khasawneh, S. (2005). Organizational learning culture, learning transfer climate and perceived innovation in Jordanian organizations. International Journal of Training and Development, 9(2), 96-100.

Brown. (2009). Look both ways: Working to develop a professional learning culture. Theme: Creating a professional culture. ACSA Biennial Conference, Camberra, 1-26.

Dick, W., Carey, L. M. (1985). The systematic design of instruction (2nd ed.). Glenview, IL: Scott, Foresman.

Good, C. V. (1975). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill Book.

Hannon, V. P., and Temperley, J. (2011). Developing an innovation ecosystem for education. Retrieved from https://www.globalcitizenleaders.com/wp-conten/uploads/2017/03/innovation-Educat-CISCO.pdf

Hilgard, E. R., & Bower, G. H. (1981). Theories of Learning. Retrieved from http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html

Hills, P. J. A. (1982). Dictionary of education. London: Routledge & Kegan Payi.

Holgado, A., & Penalvo, F. J. (2017). A metamodel proposal for developming learning ecosystems. Learning and collaboration technologies: Novel learning ecosystem. Cham: Springer International Publishing.

Islam, T., et al. (2013). Organizational learning culture, social exchange relations and multifoci citizenship behavior: A literature survey approach in word. Journal of Management and Behavioral Studies, 1(1), 6-13.

Johnston, R. & Hawke, G. (2002). Case studies of organizations with established learning cultures. Australia: National Centre for Vocational Education Research (NCVER.)

Klein, S. R. (1987). Holistic reflection in teacher education: Issues and strategies. Reflective Practice, 9(2), 111-121.

Moore, K. D. (1992). Classroom teaching skills. New York: McGraw-Hill.

Paige, R. M., et al. (2003). Culture learning in language education. Culture as the core: Perspective on culture in second language learning, 173-236.

Pasebani, F., Mohammadi, S., & Yektatyar, M. (2012). The relationship between organizational learning culture and job satisfaction and internal service quality in sport organizations in Iran. Archives of Applied Science Research, 4(4), 1901-1905.

Schoonbeek, S. & Henderson, A. (2011). Shifting workplace behavior to inspire learning: A journey to building a learning culture. Journal of continuing education in nursing, 42, 43-48.

Skerlavai, M., Song, J., and Lee, Y. (2010). Organizational learning culture, innovative culture and innovations in South Korean firms. Journal Expert Systems with Applications, 37, 6390-6403.

Starfish Academy. (2023). Learning culture สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้แบบผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่. เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/blog/829-learning-culture