ผลการจัดการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: แนวทางการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • เกริกไกร ปริญญาพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สิริลักษณ์ จิระวัฒนาสมกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชไมพร ไกยสิทธิ์ วิจัยหลักสูตรและการสอน

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ความพึงพอใจ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: แนวทางการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเที่ยง (KR-20) เท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ t-test แบบ Paired Samples ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อน และหลังการเข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 12.84, p =.00) และผลการประเมินผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย 18.80 โดยมีเกณฑ์คุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พอใจในกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.66) ด้านความพึงพอใจด้านวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด (4.61) และด้านความพึงพอใจในบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.58) ตามลำดับ

References

กฤษณวรรณ เสวีพงศ์. (2561). การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการบริหารโครงการและงบประมาณ ศศ 0209 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการปกครองท้องถิ่น ศูนย์การเรียนอำเภอสทิงพระ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560. สงขลา: สถาบันวิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนสงขลา

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศรา เสนงาม, ดวงใจ ลิมตโสภณ และธนัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ในห้องปฏิบัติการพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 30-48.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2566). ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา. สกลนคร: สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชรินทร ชะเอมเทส. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีบริหาร โดยใช้โครงการเป็น (Project-Based Learning) สำหรับผู้เรียนระดับ ปวส. 2 สาขาการบัญชี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ รัตนเดโช และธเนศ เรืองเดช. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาทักษะการประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 1-14.

ธันวา รุกขา, บรรจง เจริญสุข และญาณิศา บุญจิตร์. (2565). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). หลักคิดการจัดการหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสิยา นรินทร์, ประกอบ ใจมั่น และสายสวาท เกตุชาติ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 57-70.

รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ. (2560). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชา สต423 สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 9, 8-9 สิงหาคม, (หน้า 713-719). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา สำหรับนิสิตวิชาชีพครู. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 155-168.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา และธีรชาติ นุสโส. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 1-8.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำราญ กำจัดภัย. (2562). สถิติเพื่อการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน ฉบับปรับปรุง. สกลนคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข, 1(1), 1-16.

Dewey, J. (1998). Experience and Education. New York: Macmillan Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)