ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ เติมลาภ
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารชั้น-ประทวน พนักงานราชการ และลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานครทุกคน จำนวนทั้งสิ้น 343 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร และค่าสถิติ One-way ANOVA เพื่อหาความแตกต่างระหว่างตัวแปร และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานกับความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก โดยใช้วิธีการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน 
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นในเรื่องปัจจัยความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจำนวน 3 ด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจในงานมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ด้านความกระตือรือร้นในการทำงาน และด้านความรื่นรมย์ในงาน ตามลำดับ     
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตในการทำงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านสถานภาพ, ด้านระยะเวลาการทำงาน และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และภาระครอบครัวที่แตกต่างกัน มีผลต่อความสุขในการทำงานของกำลังพลกรมส่งกำลังบำรุงทหารบกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก. (2565). ประวัติความเป็นมา. เข้าถึงได้จาก https://dlogs.rta.mi.th/

จันทกฤต กฤตธรรม. (2553). ความสุขในการทํางานของพนักงานบริษัท เซ็นทรัลพัฒนาเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุติมณฑน์ ฟ้าภิญโญ. (2552). ความสุขในการทํางานของพนักงานบริษัท ควอลิตี้เซรามิก จํากัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภดล กรรณิกา. (2551). ประเมินความสุขของคนทำงาน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปีที่ทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http:/www.ryt9.com/s/abcp/416085

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญจง ชวศิริวงศ์. (2550). Happy Workplace. วารสารพัฒนาสังคม, 9(2), 61-93.

ผจญ เฉลิมสาร. (2540). คุณภาพชีวิตการทำงาน. วารสารเพื่อการเพิ่มผลผลิต Productivity World, 2(7), 23-24.

เพ็ญพิชชา ตั้งมาลา. (2553). ความสุขในการทำงานของพนักงานกองบำรุงรักษากลาง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิรินทิพย์ ผอมน้อย. (2551). ความสุขในการทำงาน. เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=278062

Walton, R. E. (1973). Quality of work life: what is it. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.