การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ระบบบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบความแตกต่าง รายคู่โดยวิธีของ LSD
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74)
2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน บุคคลผู้ช่วยเหลือเมื่อต้องไปโรงพยาบาล และระยะทางจากบ้านเพื่อไปโรงพยาบาลแตกต่างกัน มีการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 จากปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพในด้านความสามารถเสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุมกับกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ และมีแนวทางในการช่วยเหลือเมื่อพบผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาค่าใช้จ่าย
References
กมลพร นิรารัตน์ และอัครนันท์ คิดสม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14 ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน, 7-8 ธันวาคม 2560, (หน้า 1939-1949). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
กองสถิติสังคม. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
มนันญา ภู่แก้ว. (2564). บทความพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?%20nid=1536
ศิริพร งามขำ และคณะ. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 91-103.
สุรัตน์สวดี แซ่แต้ และคณะ. (2564). การเข้าถึงบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิของผู้สูงอายุตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ, 27 มีนาคม 2564, (หน้า 854-864). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-257. เข้าถึงได้จาก http://www.sao-sanamchai.go.th/site/
อภิชัย คุณีพงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. Journal of The Department of Medical Services, 44(5), 75-80.
Penchansky, R. and Thomas, J. W. (1981). The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Med Care, 19(2), 127-40.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.