การประกอบสร้างและการพัฒนามนุษย์จากเรื่องเล่าความรักในละครชายรักชาย
คำสำคัญ:
การประกอบสร้าง, เรื่องเล่า, ชายรักชาย, การพัฒนามนุษย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหา แนวคิดและกลวิธีการใช้ภาษาจากเรื่องเล่าชายรักชายในละครโทรทัศน์ 2) วิเคราะห์การพัฒนามนุษย์จากเรื่องเล่าชายรักชายในละครโทรทัศน์ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ คือ เรื่องเล่า 3 เรื่อง ในเว็บไซต์ lineTV.me คือ เดือนเกี้ยวเดือน รุ่นพี่ และพี่ว้ากตัวร้ายกับนายปี 1 ซึ่งเคยนำเสนอเป็นละครโทรทัศน์มาก่อน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ที่เคยชมละครทั้ง 3 เรื่อง จำนวน 10 คน และใช้ทฤษฎีเรื่องเล่า การประกอบสร้าง และ การพัฒนามนุษย์ นำผลวิเคราะห์มาจัดหมวดหมู่แล้วเสนอรายงานแบบพรรณนาวิเคราะห์ประกอบภาพและตาราง
ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าชายรักชายใช้การประกอบสร้างเนื้อหาที่เป็นลักษณะร่วมของทั้ง 3 เรื่อง คือ การแอบชอบรุ่นพี่ รักสามเส้า การหึงหวง การง้องอน และการปกปิดความรัก ส่วนลักษณะต่างกัน คือ การใช้ความรุนแรง การไม่ยอมรับของครอบครัวและสังคม ลักษณะดังกล่าวไม่ต่างจากเนื้อหาของชายรักหญิง ยกเว้น การไม่ยอมรับของครอบครัวและสังคมของชายรักชาย การประกอบสร้างแนวคิด พบแนวคิดการไม่ยึดติดเพศ ความรักของชายรักชายไม่ต่างชายรักหญิง และการยอมรับของครอบครัวและสังคมนำไปสู่ความสุข การประกอบสร้างการใช้วัจนภาษา เช่น ใช้คำ “แอบชอบ” “หึง” “ขอโทษ” เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา การใช้คำ “กู/มึง” ของพระเอกที่ใช้กับนายเอกเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้ต่างจากตัวละครเกย์ ตุ๊ด ในเรื่องเล่าอื่น ส่วนอวัจนภาษามีทั้งสัมผัสภาษา เช่น การจูบ กอด และจับมือ มุ่งสื่อเนื้อหาให้ไม่ต่างจากคู่รัก ชายหญิง วัตถุภาษา เช่น เกียร์เป็นสัญญะของคณะวิศวกรรมศาสตร์และริสแบนด์ที่ตัวละครเอกมอบให้กันสื่อถึงความรักและผูกพันเป็นอัตลักษณ์ของตัวละครชายรักชาย ด้านการพัฒนามนุษย์ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ วิจารณ์และตีความจากเรื่องเล่าและการสัมภาษณ์ที่พบทั้ง 3 เรื่อง ถือเป็น “ตัวบท” ที่แสดงปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน ผู้ชม ด้วยการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางปัญญาให้รู้เท่าทัน “ตัวบท” ที่ประกอบสร้างขึ้นที่ไม่ได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เช่น ชายรักชายเป็นเรื่องธรรมชาติดุจเดียวชายรักหญิง เรื่องของสิทธิและ การเลือกที่จะเป็นตามความพึงใจของตนและเรื่องคุณค่าและความเท่าเทียมของมนุษย์ ซึ่งการคิดวิเคราะห์วิจารณ์นี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างคุณลักษณ์ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในแง่ที่รู้เท่าทัน “ตัวบท” ของเรื่องเล่า
Downloads
References
กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีย์วาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2539). เชิงอรรถวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี: ทฤษฎีร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: นาคร.
ธเนศ เวศร์ภาดา. (2560). ความคิดเดินทาง: รวมบทความภาษา วรรณคดี สารคดี ละคร การวิจารณ์การแปล. กรุงเทพฯ: แซทโฟร์ พริ้นติ้งจำกัด.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
นัทธนัย ประสานนาม. (2551). โดยนัยนี้ อีกนัยหนึ่ง: นัยอันหลากหลายในตัวบททางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บีบีซีไทย. (2563). เพราะเราคู่กัน: วัฒนธรรมวายคืออะไร ทำไม#คั่นกูจึงเพิ่มความสนใจต่อซีรีส์ “คู่จิ้นชาย – ชาย”. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 จาก https://www.khaosod.co.th/bbcthai/news_3925074.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบอเคอร์. (2562). ประวัติศาสตร์ความรัก: จากวรรณคดีไทยสู่โลกปัจจุบัน. ใน สุภางค์ จันวานิช ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ผาสุก พงษ์ไพจิตร และสดชื่น ชัยประสาธน์ (บ.ก.), ประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส (เล่ม 1). หน้า 99–127. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).2
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาการศึกษา
สายชล สัตยานุรักษ์. (2559). ถักถ้อยร้อยประเด็น: มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง. ในอรรถ
จักรสัตยานุรักษ์ (บ.ก.), มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนในโลกที่เปลี่ยนแปลง. หน้า 1 – 20. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2569). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ วิชญวรรณกุล. (2559). ผู้หญิงกับการสร้างนวนิยายชายรักชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Line TV. (2560). เดือนเกี้ยวเดือน (2 Moons The Series). สืบค้นเมื่อ 2564, จาก https://tv.line.me/search?query=2Moons.
Line TV. (2560). รุ่นพี่(Puppy Honey 2). สืบค้นเมื่อ 2564, จาก https://tv.line.me/search?query=รุ่นพี่.
Line TV. (2560). Sotus S The Series. สืบค้นเมื่อ 2564, จาก https://tv.line.me/search?query=Sotus.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว