ความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา

ผู้แต่ง

  • รัศมี ตันเจริญ -
  • ยุวรัตน์ จงใจรักษ์
  • จรูญศรี คล้ายลี

คำสำคัญ:

ความคิดรวบยอด/ เด็กปฐมวัย /สตีมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอด และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษา โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  

ผลการวิจัยพบว่า

  ความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
สตีมศึกษา สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอยู่ในระดับดีมาก (x̅=36.79, คิดเป็นร้อยละ 91.98, S.D.=1.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ทั้งด้าน 1) การบอกลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ (x̅=8.86, คิดเป็นร้อยละ 88.60, S.D.=0.86) 2) การจับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่าง ๆ (x̅=9.50, คิดเป็นร้อยละ 95.00, S.D.=0.76) 3) การจำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ (x̅=9.36, คิดเป็นร้อยละ 93.60, S.D.=0.63) และ 4) การเรียงลำดับสิ่งของและเหตุการณ์  (x̅=9.07, คิดเป็นร้อยละ 90.70, S.D.=1.00)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวง.

มาริษา สาฆ้อง,ศศิวรรณ สุวรรณกิตติ,และนันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2564, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาความคิดรวบยอดและการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 12(1), 149-169.

รัศมี ตันเจริญ (2561). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

ลักขณา สริวัฒน์. (2558). การคิด. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอด. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: สำนัก.

อารมณ์ สุวรรณปาล. (2557). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิด. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. (เล่ม 2, หน่วยที่ 8, น. 8-1 ถึง 8-74). (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

De Cecco, J.P. 1968. The Psychology of Learning and Instruction : Educational Psychology. New Jersey: Prentice Hall.

DeJarnette, N. K. (2018). Implementing STEAM in the Early Childhood Classroom. European Journal of STEM Education. 3(3), 18 Available at https://www.lectitopublishing.nl/download/implementing-steam-in-the-early-childhood-classroom-3878.pdf.

Robelen, E. W. (2011). Building STEAM: Blending the arts with STEM subjects. Education Week, 31(13), 8. Available at http://ezproxy.rowan.edu/login?url=http://search. proquest.com/docview/910218761?accountid=13605.

Yakman, G. (2008). STEAM Education: an overview of creating a model of integrative Education. Available at: http://www.iteaconnect. org/ Conference/ PATT/PATT19/Yakmanfinal19.pdf.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19