การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ทัศน์พล ชื่นจิตต์ Chiang Rai Rajabhat University
  • ไอลดา มณีกาศ
  • ณัฐธิดา ดวงแก้ว

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวขมุ, การเรียนรู้ตามอัธยาศัย, ชาติพันธุ์ขมุ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) สำรวจข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ 2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ และ 3) พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยใช้แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การจัดกระบวนการกลุ่ม แบบสอบถาม มารวบรวมสังเคราะห์และจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัยพบว่า

1) แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุมีลักษณะการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันตามภูมิปัญญาที่สนใจ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาความเชื่อและพิธีกรรม แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาวิถีชีวิต แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาดนตรีและศิลปหัตถกรรม แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาและวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาสมุนไพร สุขภาพ และอาหาร

2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีกระบวนการ 9 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. ศึกษาข้อมูลองค์ความรู้ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น 3. การกำหนดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของชุมชน 4. กำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่เหมาะสม 5. การพัฒนาครูภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. การพัฒนาในด้านของสื่อการสอน 7. ดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยตามแนวทางที่กำหนดไว้ 8. การประสานภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ 9. การประเมินผลจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

3) การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.34 ซึ่งแสดงว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ และผลความพึงพอใจและความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ซึ่งแสดงว่า ผู้เข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย มีความพึงพอใจและเมื่อเรียนรู้นวัตกรรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของแหล่งภูมิปัญญา ทำให้ชุดกิจกรรมฉบับนี้นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของชุมชนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรกฎ แพทย์หลักฟ้า พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และสาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม :กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), น.7-18.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544.กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

เกษม วัฒนชัย. (2555). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มติชน.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2557). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชลดา บุญอยู่. (2556). ทุนทางสังคมกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาบ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐชยา ผิวเงิน. (2554). บทบาททุนทางสังคมในการพัฒนาชุมชนบ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เรณุมาศ กุละศิริมา. (2557). แนวทางในการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต:กรุงเทพฯ.

วรพจน์ อาษารัฐ. (2550). การเล่นพื้นบ้าน : ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเด็ก. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 1(1), 36-40.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

วิไล กันทะใจ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องภูมิปัญญาไทยในตุงล้านนา โรงเรียนบ้านรองกวาง (จันทิมาคม) อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถต์.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง : รูปแบบที่คัดสรรโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับปรับปรุงตามผลการรับฟังความเห็นจากประชาชน). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

หทัยกาญจน์ สำรวลหันต์. (2549). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ เรื่อง ถลกบาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ferguson, G.A. (1997). Statistical analysis in psychology & education. Singapore: McGraw–Hill.

Jaycox, R. (2001). Rural home schooling and place-based education. Charleston, W V: ERIC.

Lopez, J. S. (2000). Social structure. london: Bunkingham and Philadepelphia.

Robinson, Bruce Murry. (1996). “ Total Quality Management in Education : The Empowerment of A School Community (Australia).” Dissertation Abstracts International. Ed.D. The University of Nebraska. Available : DAI-A 57 (4) : 1428.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19