ผลของอัตราส่วนของน้ำใบกัญชาและน้ำองุ่นต่อสมบัติทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ของเจลลี่ผลไม้

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช นิลแสง -
  • ธนาพร บุญเชียง
  • กัญญารัตน์ ใบนางแย้ม
  • หฤทัย บรรเทา

คำสำคัญ:

เจลลี่ผลไม้, น้ำชาใบกัญชา, สารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่ผลไม้ผสมน้ำชาใบกัญชาที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยศึกษาปริมาณของน้ำชาใบกัญชาและน้ำองุ่นในสัดส่วนที่แตกต่างกัน 4 สูตรได้แก่สูตรที่ 1 น้ำชาใบกัญชา 100%  สูตรที่ 2 น้ำชาใบกัญชา : น้ำองุ่น ในอัตราส่วน 70:30  สูตรที่ 3 น้ำชาใบกัญชา : น้ำองุ่น ในอัตราส่วน 50:50  และสูตรที่ 4 น้ำชาใบกัญชา : น้ำองุ่น ในอัตราส่วน 30:70  โดยทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี จุลชีววิทยาตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์เยลลี่อ่อน มผช.519/2547 ทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและทดสอบปริมาณสารสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ผลการวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์เจลลี่ผลไม้ผสมน้ำชาใบกัญชาทั้ง 4 สูตร มีลักษณะกายภาพเป็นก้อนวุ้นคงรูปเมื่อนำออกจากซองบรรจุ เนื้อสัมผัสนุ่มยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง สีใสตามธรรมชาติของปริมาณน้ำผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบ และมีความคงตัวดีเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 18-24 ชั่วโมง สำหรับสมบัติทางเคมี พบว่ามีค่า pH 3.22-6.39 ค่าร้อยละของปริมาณกรดรวม 0.2-0.45 และค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ DPPH 34.85-48.63 โดยสูตรที่ 4 เป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าร้อยละของปริมาณกรดรวมและร้อยละการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เมื่อทำการทดสอบปริมาณสาร THC ด้วยชุดทดสอบเทส กัญ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าผลิตภัณฑ์เจลลี่ผลไม้ผสมน้ำชาใบกัญชาทั้ง 4 สูตรมีสาร THC น้อยกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤชคุณ ผาณิตญาณกร. (2564). โอกาสของธุรกิจอาหารผสมกัญชาของไทยและการสื่อสารกับผู้บริโภค.วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี. 4(2), 40-45.

จรรยา โห๊ะนาบุตร, ฐิติพร วันดี, ปาณิสรา คำมูล และชญานิน นันติยะ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มน้ำนมถั่วลายเสือ. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 32(2), 50-58.

จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา และ พัชรี หลุ่งหม่าน. (2561). การพัฒนาสูตรเยลลี่จากลองกองลูกร่วง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 23(2), 767-778.

จิราวัฒน์ แก่นอินทร์,จักรสุมา พงศ์เศรษฐ์กุล, เพชรไพลิน ถาวะรังค์, ตรัส เคแสง และ สิริมา เถกิงวงศ์ตระกูล. (2563). การพัฒนาเยลลี่ชนิดอ่อนรสสตรอว์เบอร์รีเสริมคอลลาเจนไฮโดรไลเสต. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 25(1), 117-128.

ธนน คงเจริญสมบัติ. (2562). กัญชา จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารโภชนบำบัด. 27(2), 2-7.

ธนพล นิ่มสมบูรณ์. (2563). พิษวิทยาของกัญชา. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 30(2), 125-136.

ธีรวรรณ สุวรรณ์, วัชระ ประดุจพรม, วิไรพร งามรูป, ณัฐธยาน์ ชูสุข และจันทิมา ภูงามเงิน. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ใบรางจืด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22(1), 189-201.

ปุณยนุช นิลแสง. (2565). การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคของน้ำหมักและสารสกัดหยาบบอระเพ็ดTinospora crispa (L.) Hook f.& Thomson. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 7(1). 12-20.

พงศธร ทองกระสี และดุษฎี ศรีธาตุ. (2566). ประสิทธิผลของชาที่มีส่วนผสมของกัญชาต่อการนอนไม่หลับ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 5(1), 25-32.

ภาสุรี ฤทธิเลิศ และกมลวรรณ วารินทร์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มะม่วงหาวมะนาวโห่. Thai Journal of Science and Technology. 9(2), 342-354.

ศราวุธ ระดาพงษ์, พราว ศุภจริยาวัตร และเมธิน ผดุงกิจ. (2564). ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกัญชา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 63(1), 219-232.

สุกัญญา เขียวสะอาด, สรัญญา ชวนพงษ์พานิช และอัศวิน ดาดูแคล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากสารสกัดดอกบุนนาค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(12), 2185-2200.

สุภาพร พาเจริญ, วิจิตรา เหลียวตระกูล และวรวุฒิ ธาราวุฒิ. (2565). ผลของปริมาณสารสกัดจากโหระพาและเจลาตินต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เยลลี่โหระพา. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ. 10(1), 34-45.

สุมิตา นิยมเดชา และ มูฮำหมัด นิยมเดชา (2565). การทดสอบสารพฤกษเคมี และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของกัญชา. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน. 4(2), 155-166.

Osiripun, V., & Labua, S. (2023). Effects of thermal processing on cannabidiol degradation in cannabidiol-infused pomegranate juice and evaluation of its antioxidant property. Journal of Current Science and Technology, 13(1), 107-117. DOI: 10.14456/jcst.2023.10.

Tongkasee, P., Srithat, D., Sriyasak, P., Jitcharerntham, A., Piwgern, T., Khoontawad, J. and Insuwan, W. (2023). Formulation and Phytochemical Profile of a Product Prototype Infused with Cannabis sativa Leaves. Trend in Science. 20(9), 5835. https://doi.org/10.48048/tis.2023.5835.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19