มายาคติความเป็นคนไทยในหนังสือนำเที่ยวประเทศไทยที่เขียนโดยชาวจีน

ผู้แต่ง

  • เดชา ชาติวรรณ Faculty of Humanities and Social Sciences Phanakhon Rajabhat University

คำสำคัญ:

มายาคติ, อุดมการณ์, หนังสือนำเที่ยวประเทศไทยที่เขียนโดยชาวจีน, ความเป็นคนไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “มายาคติความเป็นคนไทยในหนังสือนำเที่ยวประเทศไทยที่เขียนโดยชาวจีน”
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามายาคติความเป็นคนไทย และกลวิธีการสร้างมายาคติผ่านการประกอบสร้างความหมายสัญญะ ที่สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ต่าง ๆ ในสังคมจีนที่คอยกำกับการดำรงอยู่ของมายาคติเหล่านั้น ผ่านหนังสือ
นำเที่ยวประเทศไทยที่เขียนโดยชาวจีน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทตามแนวคิดมายาคติของ Roland Barthes คือการให้ความสำคัญกับความหมาย
ในระดับที่สอง ซึ่งเป็นความหมายโดยนัยทางสังคม ร่วมกับวิเคราะห์ตัวบทในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ชาวจีนที่พํานักอยู่ในประเทศไทยเกิน 1 ปี จำนวน 6 คน

ผลการวิจัยพบว่ามี 5 มายาคติ ในหนังสือที่ศึกษาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะกล่าวถึง
 3 มายาคติที่โดดเด่น ได้แก่ 1) “กะเทย” ตัวแทนความเป็นไทย 2) จีนคือเบื้องหลังความเจริญและวัฒนธรรมไทย 3) ราชวงศ์และชนชั้นสูงตัวแทนความหรูหราของไทย โดยมายาคติเหล่านี้เกิดจากการสร้างด้วยกลวิธี 1) เลือกใช้คำเพื่อสร้างความหมายสัญญะ 2) การเลือกสัญญะอีกตัวเพื่อเทียบเคียงให้เกิดความหมายเหมือน คล้าย ต่าง
3) การจัดเรียงสัญญะเพื่อให้เกิดการถ่ายโอนความหมาย 4) การเลือกให้ข้อมูล รายละเอียด  ซึ่งทั้ง 3 มายาคติ
มีอุดมการณ์ชาตินิยม อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ อุดมการณ์ชนชั้นและผู้ปกครองในรัฐจารีต เป็นอุดมการณ์หลักอยู่เบื้องหลังมายาคติเหล่านี้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557-2562). สถิตินักท่องเที่ยว. 2557-2562. สืบคืนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิภาษา.

ธยายุส ขอเจริญ, พระครูโกศลศาสนวงศ์, พระธงชัย ขนฺติธโร. (2563). พลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา : คติความเชื่อและการละเล่น. วารสาร มจร อุบลปริทัศน์, 5(3), 179-191.

บาร์ตส์, โรล็องด์. (2555). มายาคติ. (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, ผู้แปล; พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพ: คบไฟ.

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบคืนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://dictionary.orst.go.th/

ภาวิณี พนมวัน ณ อยุธยา. (2560). การเปลี่ยนแปลงของอุดมการณ์ความเป็นเด็กไทยในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช 2502-2557 (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภูริพันธ์ ภู่ไพบูลย์. (2557). มายาคติความเป็นจีนในภาพยนตร์จีนฮ่องกงช่วงก่อนและหลังการส่งคืนเขตปกครองพิเศษฮ่องกงสู่ประเทศจีน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2561). การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 - 2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรติ ทะพิงค์แก. (2556). มายาคติในภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา. (2560). มายาคติในโฆษณาแบรนด์หรู (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอื้อมพร ทิพย์เดช. (2560). มายาคติในนิทานพื้นบ้านล้านนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Barthes, R., & Lavers, A. (1985). Mythologies. Hill and Wang.

陈光洁, 汪芳芳. (2013). 探索与选择: 当下我国“重男轻女”思想刍议. 重庆科技学院学报,20(10), 71-73.

崔晓婷. (2018). 我国旅行主题书店的发展空间和路径探析 (硕士研究生学位论文). 青岛科技大学.

付飞亮. (2018). 中国古籍中的泰国人形象. 中北大学学报, 34(4), 39-46.

贾芳. (2017). 中国农村重男轻女观念的转变 ——一个经济学视角的解释(硕士研究生学 位论文). 陕西师范大学.

李玉成. (2015). 面子——中国人的文化心理浅析.科学咨询, 16(18), 102-103.

墨刻.(2015). 泰国自助游 (2版). 人民邮电出版社

牟丽梅, 姜姗姗, 秦宇. (2022). 中国顾客为何给小费?——对打赏行为的混合式探索研究. 旅游论坛,15(3), 23-35.

亲历者. (2018). 泰国穷游也行. 中国铁道出版社

单小曦,支朋.(2021). 自媒体文艺短视频的媒介神话学阐释——以李子柒古风艺术短 视频为主要考察对象. 内蒙古社会科学, 42(1), 195-203.

石修堂,苏梅涓. (2020). 从语言文化视角看小费.黄冈职业技术学院学报, 22(6), 80-84.

石书臣. (2022). 文化自信视角的爱国主义教育. 人民教育, 72(18), 37-40.

桃林. (2013). 社会性别视角下的泰国人妖. 企业导报,18(13), 176-177.

玩全攻略. (2017). 泰国玩全攻略. 化学工业出版社.

张翠娟,白凯. (2015). 面子需要对旅游者不当行为的影响研究. 旅游学刊, 30(12), 55-65.

张蕾. (2016). 爱上泰国. 北京联合出版公司.

张文波. (2019). 罗兰·巴特符号学视域下《最强大脑》神话学分析.中国报业, 19(4), 57-58.

中国外文局. (2020). 习近平谈治国理政(第 3 卷). 外文出版社.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19