การแปลกับการศึกษาแนวทางส่งเสริมภาพลักษณ์ของป้ายสาธารณะภาษาจีนในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ แก้วหีตนุ้ย -
  • กฤตพร สินชัย

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, ป้ายสาธารณะ, ภูเก็ต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและสาเหตุข้อผิดพลาดทางการแปลป้ายภาษาจีน 2. เพื่อศึกษาทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวจีนและผู้ประกอบการชาวไทยที่มีต่อป้ายภาษาจีน 3. เพื่อเสนอข้อเสนอแนะด้านการแปลในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของป้ายภาษาจีนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์ป้ายภาษาจีน 3 ประเภท อันประกอบด้วย ป้ายให้ข้อมูล ป้ายเตือน และป้ายควบคุม จำนวน 100 ป้าย และสัมภาษณ์ทัศนะจากทั้งชาวจีน จำนวน 10 คนและชาวไทย จำนวน 10 คน ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวคิดเกี่ยวกับข้อผิดพลาดทางการแปลของดวงตา สุพล (2541) และแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุความผิดพลาดในการแปลของสุพรรณี ปิ่นมณี (2555)

ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อผิดพลาดทางการแปลที่พบมากที่สุด คือ “การแปลผิดความหมาย” รองลงมา คือ “การเลือกใช้คำไม่เหมาะสม” และ“การแปลขาด”ตามลำดับ โดยมีสาเหตุมาจาก 1) การใช้กลวิธีการแปลที่ไม่เหมาะสม 2) ความรู้ทางภาษาของผู้แปลที่ไม่เพียงพอ 3) การใช้เครื่องมือช่วยแปลอย่างขาดวิจารณญาณ และ 4) การขาดความรอบคอบในการจัดทำป้าย 2. ทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวจีนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียชาวไทย ส่วนใหญ่เห็นว่า ป้ายที่ปรากฏข้อผิดพลาดทางการแปลสามารถใช้สื่อสารและทำความเข้าใจได้ในระดับเบื้องต้น โดยมีการเสนอให้มีการเพิ่มปริมาณป้ายภาษาจีนให้มากขึ้น และควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนดำเนินการจัดทำป้าย 3. ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ป้ายในด้านการแปล มีดังนี้ 1) ใช้กลวิธีการแปลที่เหมาะสม 2) ศึกษาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ 3) ใช้เครื่องมือช่วยแปลอย่างมีวิจารณญาณ 4) ตรวจทานการแปลโดยผู้เชี่ยวชาญ และ5) ปรับบทแปลตามความจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบ เพื่อการพัฒนาป้ายสาธารณะภาษาจีนในพื้นที่ในอนาคตต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดวงตา สุพล. (2541). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ผู้จัดการออนไลน์. (2563). ททท.ภูเก็ต สำรวจพบนักท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 90 ยังอยากมาภูเก็ตหลังโควิด-1หมด หาดทราย ชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต. สืบค้น 17 เมษายน 2565. https://mgronline.com/South/detail/9630000046793

พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. (2548). การแปลอังกฤษเป็นไทย: ทฤษฎีและการประยุกต์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญฉวี สายบัว. (2550). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2555). แปลผิด แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. (2543). ระบบป้ายสัญลักษณ์. พลัสเพลส.

C9hotelworks. (2020). China Thailand Travel Sentiment Survey April 2020. Retrieved April 20, 2022. https://www.c9hotelworks.com/wp-content/uploads/2020/04/china-thailand- travel-sentiment-survey-2020-04.pdf

China Tourism Academy. (2021). 2021 Chinese Outbound Travel Development Year-End Report. Retrieved May 3, 2022. https://www.ctaweb.org.cn/cta/gzdt/202111/074b098

d53e24375bfebf5352f67512a.shtml

Nassaji, H. & Hu, H. M. (2012). The relationship between task-induced involvement load and learning new words from context. International Review of Applied Linguistics (IRAL). 50(1), 69-86.

World Tourism Organization. (2019). Guideline for Success in the Chinese Outbound Tourism Market. Retrieved April 20, 2022. https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284421138

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19