The Measurement of Learner’s Cognitive Process Based-on Bloom’s Taxonomy Revised

Authors

  • Santi Ngamsert

Keywords:

Knowledge, Cognitive Process, Test

Abstract

บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านพุทธิพิสัยของบลูมที่ปรับปรุงใหม่โดยเดวิด แครทโวทล์ และโลริน แอนเดอร์สัน ในปี ค.ศ.2001 จากนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้จึงถูกเรียกชื่อใหม่เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา โดยการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยที่ปรับปรุงใหม่นั้นถูกวัดด้วยการเรียนรู้ใน 2 มิติ ได้แก่ 1. มิติความรู้ ประกอบด้วย 1) ความรู้เชิงข้อเท็จจริง 2) ความรู้เชิงมโนทัศน์ 3 ) ความรู้เชิงวิธีดำเนินการ และ 4) ความรู้เชิงอภิปัญญาและ 2. มิติกระบวนการทางพุทธิปัญญา ประกอบด้วย 1) จำ 2) เข้าใจ 3) ประยุกต์ใช้ 4) วิเคราะห์ 5) ประเมินค่า และ 6) คิดสร้างสรรค์ การวัดมิติความรู้แต่ละประเภทและกระบวนการทางพุทธิปัญญา แต่ละขั้นนั้น ครูผู้สอนจะต้องเลือกแบบทดสอบที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการวัดที่ได้เป็นตัวแทนความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหาหลัก ๆ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) คำจำกัดความของกระบวนการทางพุทธิปัญญา (พุทธิพิสัย) ของบลูมแบบเดิม (1956) และ ที่ปรับปรุงใหม่ (2001) 2) คำบ่งชี้และตัวอย่างข้อคำถามในการวัดกระบวนการทางพุทธิปัญญา และ 3) การเลือกใช้แบบทดสอบที่เหมาะสมในการวัดกระบวนการทางพุทธิปัญญาแต่ละขั้น

References

จริยา เสถบุตร และธีระยุทธ นนทสร. (2016). อนุกรมวิธานสำหรับการเรียนการสอนและการประเมิน.สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559, แหล่งที่มา www.curric.net/ center/Bloom_Taxonomy.doc

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง, 3 (2), 14 – 25.

วิทวัฒน์ ขัตติยมาน และ ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์.(ม.ป.ป.). การปรับปรุงจุดมุ่งหมาย ทางการศึกษาของบลูม (Revised Bloom’s Taxonomy). สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2558, แหล่งที่มา https://www.watpon.com

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing. Abridged Edition. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Bloom, G.S., et al. (1956).Taxonomy of Educational Objectives Handbook I: Cognitive Domain. New York: Longmans, Inc.

Patricia, A. (2016). Bloom Taxonomy. Center of Teaching. Retrieved https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy

Downloads

Published

01-12-2016

Issue

Section

Academic Article