คุณสมบัติของแบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก
คำสำคัญ:
แบบวัด, ความเชื่อ, ความสามารถพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของแบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก ฉบับภาษาไทยของ Charlott Rubach และ Rebecca Lazarides กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก ปีการศึกษา 2565 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกของ Charlott Rubach และ Rebecca Lazarides แบ่งออกเป็นสองตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ และ ตอนที่ 2 เป็นแบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีข้อรายการจำนวน 32 ข้อ เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยองค์ประกอบที่ใช้วัดมีจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศและการรับรู้เท่าทันข้อมูล การสื่อสารและการร่วมมือ การสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัล ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย การแก้ปัญหา และการวิเคราะห์และผลกระทบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าความเที่ยงค่อนข้างสูงมีค่าเท่ากับ 0.804 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดทุกค่า พบว่า = 421.824, df= 381, /df =1.107, p-value = 0.0731, RMSEA = 0.017, CFI = 0.980, TLI = 0.975 และ SRMR = 0.043
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 - 2565. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2559). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีในการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 6(2), 1-13.
ชัยวัฒน์ ชนะมี. (2557). การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ทรูปลูกปัญญา. (2565). จากครูสู่ผู้อำนวยการเรียนรู้ (From Teacher to Facilitator). สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/50208
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการ.สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
มนฤดี ช่วงฉ่ำ และคณะ. (2564). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 : ความหมายและปัจจัยเงื่อนไข. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2563). ทิศทางการผลิตครูประถมศึกษาของประเทศไทยที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ครูกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 275 - 289.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่นมีเดีย.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2564). แนวคิดเกี่ยวกับการวัด ปัจจัยที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนจากการวัด
การตรวจสอบคุณภาพความตรง และความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย. ใน การประชุมโครงการฝึกอบรม สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นที่ 8. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice Hall.
Dominic, R. P., & Terence, J. G. T. (2010). Psychometric properties of the career clusters Interest survey. Journal of Career Assessment, 18(2), 177-188.
Muenks, K., Wigfield, A., & Eccles, J. S. (2018). I can do this! the development and calibration of children's expectations for success and competence beliefs. Developmental Review, 48, 24-39. https://doi.org/10.1016/j.dr.2018.04.001
Rubach, C. & Lazarides, R. (2021). Addressing 21st-century digital skills in schools – Development and validation of an instrument to measure teachers' basic ICT competence beliefs. Computers in Human Behavior, 118. https://doi.org/10.1016/j.chb.2020.106636
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงเรียนนายเรือ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น