การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความผูกพันต่อองค์กร และความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ดนิศชญา ศรีลา สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ความผูกพันต่อองค์กร , ความสุขในการทำงาน , สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความผูกพันต่อองค์กร และความสุขในการทำงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของบุคลากร ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และความสุขในการทำงานของบุคลากร และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กร และความสุขในการทำงานของบุคลากร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า F-test ค่า Least Significant Difference (LSD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความผูกพันต่อองค์กร และความสุขในการทำงานของบุคลากรอยู่ในระดับสูง 2) บุคลากรที่มีเพศ สถานภาพสมรส ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน สิทธิค่ารักษาพยาบาล รายได้ต่อเดือน และอายุงาน แตกต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกัน 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของบุคลากรอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความผูกพันต่อองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของบุคลากรอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชารีย์ แก้วไชยษา. (2559). ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เตชินณ์ อินทบํารุง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามการรับรู้ของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ปพิชญา วะนะสุข. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทํางานของตํารวจกองบังคับการ อํานวยการตํารวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่. [สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต การบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2562). สถิติการว่าจ้างบุคลากรและการลาออกของบุคลากรสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2560-2562. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed). Harper & Row.

Kotter, J.P. (1996). Leading Change. Harvard Business School Press.

Manion, J. (2003). Joy at Work. Creating a positive workplace. Journal of Nursing Adminstation, 33(12), 652-655.

Parker, J. P., & Begnaud, L. G. (2004). Developing creative leadership. Teacher Ideas Press.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45.

Steers & Porter. (1973). Motivation and Work Behavior. MeGraw-Hill Book Company.

Steers, R.M & Porter, L.M. (1973). Organizational Work Personal Factors in Employee and Absenteeism. Psychological Bulletin, 80, 151-176.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22 (March 1977), 46.

Stoll, L. & J. Temperley. (2009). Creative leadership teams. Journal of Management in Education, 23(1),12-18.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22