การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดพลังสุขภาพจิตของนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
พลังสุขภาพจิต, คุณสมบัติทางจิตมิติ, ความตรงเชิงทฤษฎีบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดพลังสุขภาพจิตและ สำรวจพลังสุขภาพจิตของนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยการตรวจสอบความเที่ยง ความตรงเชิงเนื้อหา การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (วัด 5 องค์ประกอบ มาตรวัดลิเคิร์ท 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในโรงเรียนนาวิกเวชกิจ จำนวน 108 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าดัชนีความสอดคล้องค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปการตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติได้ ดังนี้ 1) แบบวัดพลังสุขภาพจิตที่สร้างขึ้น จำนวน 22 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบอันดับที่สองของโมเดลการวัด พบว่า อยู่ในระดับดี ( χ2/df=1.85 GFI=0.76 CFI=0.99 AGFI=0.70 NFI=0.98 RMR=0.02 RMSEA=0.08) 3) ระดับพลังสุขภาพจิตของนักเรียนโรงเรียนนาวิกเวชกิจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
References
นิภารัตน์ รูปไข่. (2557). อิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ เอราวรรณ์. (2553). การพัฒนาแบบวัดภูมิต้านทานอารมณ์และจิตใจเชิงสถานการณ์ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยใช้เทคนิคแผนผังกลุ่มเชื่อมโยงการสัมภาษณ์แบบ MMI และการวิเคราะห์พหุลักษณะพหุวิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Clompus, S.R., & Albarran, J.W. (2016). Exploring the nature of resilience in paramedic Practice : A psycho-social study. International Emergency Nursing, 28. Retrieved March 30, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1755599X15001317
Dantzer R., Cohen S., Russo S.J., & Dinan T.G. (2018). Resilience and immunity. Brain, Behavior, and Immunity, 74. Retrieved March 30, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0889159118304409
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Ruvalcaba-Romero, N.A., Gallegos-Guajardo, J., & Villegas-Guinea, D. (2014). Validation of the Resilience scale for Adolescents (READ) in Maxico. Journal of Behavior, Health & Social, 6(2). Retrieved March 22, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S200707801530002X#!
van der Meulen, E., van der Velden, P.G., van Aert, R.C.M., & van Veldhoven, M.J.P.M. (2020). Litudinal associations of psychological resilience with mental health and functioning among military personnel: A meta-analysis of prospective studies. Social Science & Medicine, 24. Retrieved March 30, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0277953620300332
Walsh, P., Owen, P.A., Mustafa, N., & Beech, R. (2020). Learning and teaching approaches promoting resilience in student nurses: an integrated review of the literature. Nurse Education in Practice, 45. Retrieved 30, 2020, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1471595318301562
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น