ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ

ผู้แต่ง

  • หฤทัย อาจปรุ กรมแพทย์ทหารเรือ
  • สินีนาฏ ลิ้มนิยมธรรม กรมแพทย์ทหารเรือ
  • ปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช กรมแพทย์ทหารเรือ

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ, ความสุข, แรงจูงใจในการทำงาน, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือจำนวน 2,534 คน ได้จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power และการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในชีวิต แรงจูงใจในการทำงาน และแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity) มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 หลังจากนั้นได้นำไปทดลองใช้ (try out) กับบุคลากรกรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 30 คน ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างและทดสอบ ค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรมแพทย์ทหารเรือ อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.90, S.D. = 0.71) และ 2) ความสุข สุขภาพทางกายและจิต ภาวะผู้นำ ความสัมพันธ์กับหัวหน้า ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผลตอบแทน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน ความชัดเจนของหน้าที่ การสื่อสาร งานที่ท้าทาย โอกาสพัฒนา เส้นทางความก้าวหน้า การได้รับการยอมรับนับถือ ภาพลักษณ์องค์กร และสวัสดิการ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรมแพทย์ทหารเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความมั่นคงในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรมแพทย์ทหารเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมกำลังพลทหารเรือ. (2558). ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558-2567 ด้านการพัฒนากำลังพล. สืบค้น 10 กันยายน 2559, จาก http://www.person.navy.mi.th/personal/index1.php

กรมสุขภาพจิต. (2545). ดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย. สืบค้น 18 สิงหาคม 2559, จาก http://gg.gg/jqqae

กันต์ฤทัย ศรีโท และณัฐวีณ์ บุนนาค. (2560). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารชั้นประทวน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2560, จาก http://mapol.soc.ku.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/5814851465.pdf

จิรประภา อัครบวร, รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์, จารุวรรณ ยอดระฆัง และขวัญ นวลสกุล. (2557). Emo-meter (Employee Engagement on meter) : เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร. กรุงเทพฯ: โครงการ "การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำองค์การไปสู่องค์การสุขภาวะ" สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.

จุติรัตน์ ถาวโร และภาสชนก พิชญเวทย์วงศา. (2551). ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(5), 441-449.

ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทํางานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชวลิต นุชกูล. (2556). ความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การกรณีศึกษา ข้าราชการทหาร สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. สืบค้น 10 ธันวาคม 2558, จาก http://gg.gg/jqqcc

ปัทมา สมสนั่น และรุจาภา แพงเกสร. (2556). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารกองทัพบก. วารสารการตลาด และการสื่อสาร, 1(2), 775-795.

พวงพร กอจรัญจิตต์, ณัฐธกา เดชเกษม, กัลยา แก้วธนะสิน, นภสร ไชยภักดี และทรงศิริ นิลจุลกะ. (2560). ความสัมพันธร์ะหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ประสิทธิภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มภารกิจด้านการยาบาลกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์, 42(2), 40-48.

ภรดี สีหบุตร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การ ตามการรับรู้ของผู้ให้บริการ สถานพยาบาล สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชราพร เชยสุวรรณ และคณะ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของอาจารย์ พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารพยาบาลทหารบก. 14(1): 51-60.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Alarcon, G., Lyons, J. B. and Tartaglia, F. (2010). Understanding predictors of engagement within the military. Military Psychology, 22, 301-310.

Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managersin Work Organizations. Administrative Science Quarterly, 19, 535-546.

Christian, M. S., Garza, A. S. and Slaughter, J. (2011). Work Engagement: A Quantitative Review and Test of Its Relations with Task and Contextual Performance. Personnel Psychology, 64, 89–136.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Hewitt Associates. (2003). Best Employers in Asia Research. The engagement model. Retrieved July 21, 2016, from http://www.asria.org/events/hongkong/june03/ index_html/lib/BestEmployersInAsia2003.pdf

Hewitt Associates. (2010). Hewitt Engagement Survey. Retrieved August 20, 2016, from http://www.hewittassociates.com/Intl/NA/enUS/Consulting/ServiceTool.aspx?cid=2256&sid=7212

Mackoff, B. (2011). Nurse Manager Engagement. Massachusetts: Jones&Bartlett learning.

Schaufeli W. B., Baker A. B. (2004). Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement: A multi-sample study. Journal of Organizational Behavior, 25, 293–315.

Steers, R. M. and Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-25