ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนเทพศิรินทร์ตามแนวคิดผู้ประกอบการดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ปาณพล เภตรา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพ็ญวรา ชูประวัติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, ผู้ประกอบการดิจิทัล, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเทพศิรินทร์ตามแนวคิดผู้ประกอบการดิจิทัล ประชากร คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 113 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน และครู จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนเทพศิรินทร์ตามแนวคิดผู้ประกอบการดิจิทัล จำแนกตามขอบข่ายการบริหารวิชาการ พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ การจัดการเรียนรู้ (PNImodified = .485) รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = .444) และการประเมินผล (PNImodified = .438) ตามลำดับ และจำแนกตามแนวคิดผู้ประกอบการดิจิทัล พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ ด้านการทำการตลาดดิจิทัล (PNImodified = .531) รองลงมาคือ ด้านการจัดการทางการเงิน (PNImodified = .505) และด้านการนำเสนอและการสื่อสาร (PNImodified = .371) มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาต่ำสุด จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่จะต้องส่งเสริมผู้เรียนให้มีองค์ความรู้ในการทำการตลาดดิจิทัลมากที่สุด เพื่อให้เกิดทักษะผู้ประกอบการดิจิทัลในผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม

References

ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหากับภาษาและสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved form http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54981

ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2562). SET YOUR STARTUP BUSINESS GUIDE เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพด้วย DESIGN THINKING และ LEAN CANVAS. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

เตชิต เอกรินทรากุล. (2565). ใบความรู้เรื่องความหมายของวิชา IS. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพฯ: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพศิรินทร์.

พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Retrieved form http://cuir.car.chula.ac.th/handle/ 123456789/63349

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2564). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564). Retrieved form https://drive.google.com/file/d/1Jt1ZfGsljYQTSD63N_ojy7EQpM8ucW2o/view

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้าที่ 1-72.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา:ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

เรวัตร อยู่เกิด และสุกัญญา แช่มช้อย. (2565). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(1), 67-78.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report) ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: โรงเรียนเทพศิรินทร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2563). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. 2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนเเปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Carlos, B. (2021). Digital Entrepreneurship | Importance & Examples. Retrieved form https://barraza carlos. com/digital-entrepreneurship/

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Nambisan, S. (2017). Digital entrepreneurship: Toward a digital technology perspective of entrepreneurship. Entrepreneurship theory and practice, 41(6), 1029-1055.

Sternberg, R. J. (2003). Creative thinking in the classroom. Scandinavian Journal of Educational Research, 47(3), 325-338.

Sukanya Chaemchoy, et al. (2022). Policy design for transforming learning systems responsive to future global changes in Thailand 2040. Kasetsart Journal of Social Sciences, 43(2), 509-516.

Vincenzo, M. (2022). Digital Entrepreneurship Management, Systems and Practice. Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/9781108979917

Vineela, G. S. (2018). Digital entrepreneurship. IJIRMPS, 6(4), 441-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-27