การศึกษาเปรียบเทียบผลการตัดสินเขตแดนทางทะเลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเขตทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา ในบริเวณพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ
คำสำคัญ:
กำหนดเขตทางทะเล, พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน, ผลแห่งความเที่ยงธรรม, เส้นมัธยะแบบปรับแต่งบทคัดย่อ
ผลงานทางวิชาการนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการกำหนดเขตทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนำผลการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) และ ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (International Tribunal for the Law of the Sea: ITLOS) มาวิเคราะห์หาปัจจัยและสภาวะแวดล้อมของแต่ละกรณี ที่มีความสอดคล้องหรือคล้ายคลึงกับกรณีระหว่าง ไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบในด้านกายภาพของสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะของชายฝั่ง เกาะ หิน ผลการตัดสินที่นำมาทำการวิเคราะห์ประกอบด้วย กรณีระหว่างเนเธอร์แลนด์-เยอรมนี-เดนมาร์ก บังคลาเทศ-เมียนมา โรมาเนีย-ยูเครน และ นิการากัว-โคลัมเบีย ผลการศึกษาพบว่าแนวทางในการกำหนดเขตทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา มีหลากหลายแนวทางขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาประกอบการพิจารณา แต่สามารถจำแนกแนวทางในการกำหนดเขตได้ 2 กรณีคือ การใช้เกาะและหินทั้งหมด กับใช้เฉพาะชายฝั่งเพียงเท่านั้น ทั้งนี้ผลงานทางวิชาการนี้ได้ค้นพบสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการปรับแต่งเส้นมัธยะเพื่อบรรลุผลแห่งความเที่ยงธรรม สามารถใช้พื้นที่ของเกาะและหินที่ถูกนำมาใช้เป็นจุดควบคุม (Control Point) เป็นปัจจัยในการปรับแต่งเส้นมัธยะแทนการใช้ความยาวชายฝั่งที่เกี่ยวข้องได้ และจะช่วยให้ความเที่ยงธรรมในเชิงพื้นที่ระหว่างเกาะที่มีขนาดใหญ่กับหินที่มีขนาดเล็กมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น บทความทางวิชาการนี้สามารถต่อยอดไปสู่การวิจัยในการกำหนดเขตทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา ในการปรับแต่งเส้นมัธยะตามอัตราส่วนพื้นที่ของเกาะและหินที่เกี่ยวข้องได้ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ด้านเทคนิคกฎหมายทะเลในกรณีต่าง ๆ ที่ศาลตัดสินมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษา วิเคราะห์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความเห็น มุมมองของผู้เขียน มิได้เกี่ยวข้องกับการเจรจาแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา แต่อย่างใด
References
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย. (2554). พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา: ทางเลือกและข้อเสนอแนะ: จุลสารความ มั่นคงศึกษา ฉบับที่ 93. กรุงเทพฯ: สถาบันการข่าวกรอง, สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
อนุวัฒน์ นทีวัฒนา. (2551). ความหลากหลายของเกาะในประเทศไทย. เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 39. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม.
Nem Sowath. (2559). Rocher Kusrovie [Facebook]. สถานที่ผลิต: หน่วยงานที่เผยแพร่. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
International Court of Justice (ICJ). (Judgment of 1969, 20 February). North Sea Continental Shelf Cases (Federal Republic of Germany/Denmark; Federal Republic of Germany/Netherlands). International Court of Justice.
International Court of Justice (ICJ). (Judgment of 2009, 3 February). Maritime Delimitation in the Black Sea (Romania v. Ukraine). International Court of Justice.
International Court of Justice (ICJ). (Judgment of 2012, 19 November). Territorial and Maritime Dispute (Nicaragua v. Colombia). International Court of Justice.
International Tribunal for the Law of the Sea (ITLOS). (Judgment of 2012, 14 March). Dispute Concerning Delimitation of the Maritime Boundary between Bangladesh and Myanmar in the Bay of Bengal. Hamburg: International Tribunal for the Law of the Sea.
Schofield, Clive Howard (1999). Maritime boundary delimitation in the gulf of Thailand. Durham theses, Durham University. Available at Durham E-Theses Online: http://etheses.dur.ac.uk/4351/
United Nations, Division for Ocean Affairs and the Law of the Sea, Office of Legal Affairs. (2001). United Nations Convention on the Law of the Sea 1982. Retrieved from https://www.un.org/depts/los/convention_agreements/texts/unclos/unclos_e.pdf

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงเรียนนายเรือ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น