การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา 5MSG MODEL ในการพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนภู่วิทยา

ผู้แต่ง

  • อังคนา คำสิงห์นอก โรงเรียนภู่วิทยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนภู่วิทยา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (R1) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารและพัฒนา หาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 43 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ระยะที่ 2 (D1) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ โดยผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ระยะที่ 3 (R2) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) จำนวน 2 ภาคเรียน ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครู 43 คน และนักเรียน 730 คน ระยะที่ 4 (D2) การประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาและเผยแพร่รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้กลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 43 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัญหาการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่ คือครูขาดความตระหนักในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยและหลากหลาย อีกทั้งไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด แนวทางการพัฒนาควรมีการใช้หลักการบริหารเชิงระบบที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะครูและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องและความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมาก โดยมีพัฒนาการที่สูงขึ้นร้อยละ 31 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2565 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในระดับดีถึงดีเยี่ยม เพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2565 และ 4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ และวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 1-17.

ชยพล ธงภักดี และจักรพงษ์ พร่องพรมราช. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 15(4), 70-83.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

นฤมล คล้ายริน. (2564). รูปแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. HRD Journal, 12(2), 58-74.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พัทธยา ชนะพันธ์. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ทักษะการช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุโขทัย (รายงานวิจัย). ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุโขทัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). 7 ทักษะของครูยุค 4.0. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2561). ภาวะผู้นําสำหรับศตวรรษที่ 21 .วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 261-271.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

ของครูเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. (รายงานการวิจัย). โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ.

ศุวนิดา ภูชำนิ (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22