ระบบการสื่อสารระหว่างราชธานีกับหัวเมืองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัชกาลที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
นักประวัติศาสตร์ไทยเชื่อว่าการเดินทางที่ยากลำบากและความห่างไกลเป็นสาเหตุให้การสื่อสารระหว่างหัวเมืองกับราชธานีเกิดความล่าช้า บทความนี้ต้องการตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าวโดยจะกลับวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นว่าระบบการสื่อสารก่อนการปรับปรุงนั้นทำงานกันอย่างไร และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้า ผลการศึกษาพบว่า การปกครองหัวเมืองแบบอาณาจักรที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตัวกำหนดวิธีการสื่อสารระหว่างหัวเมืองกับราชธานี กล่าวคือ หากเป็นการสื่อสารระหว่างหัวเมืองชั้นในที่อยู่ใกล้กับราชธานี ทั้งสองฝ่ายสามารถส่งท้องตราและใบบอกถึงกันได้โดยตรง แต่ถ้าเป็นการสื่อสารระหว่างราชธานีกับหัวเมืองชั้นนอกและประเทศราชที่ห่างไกลออกไป ทั้งสองฝ่ายจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “ส่งตามระยะทาง” คือฝากส่งท้องตราและใบบอกไปตามศาลากลางหัวเมืองรายทางจนกว่าจะถึงจุดหมาย แต่เนื่องจากวิธีการส่งตามระยะทางเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐยังมีบทบาทหน้าที่จำกัด ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างราชธานีกับหัวเมืองยังเกิดขึ้นน้อย ราชธานีจึงไม่เคยกำหนดว่าหัวเมืองจะต้องส่งใบบอกลงมาเมื่อใด หัวเมืองที่เป็นต้นทางและหัวเมืองที่อยู่รายทางจึงมีอำนาจตัดสินใจว่าจะสื่อสารและเคลื่อนย้ายท้องตรากับใบบอกที่รับฝากไว้เมื่อใดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ใบบอกส่วนใหญ่จึงไม่ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากผู้ส่งไปถึงผู้รับอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีช่วงที่หยุดนิ่งเกิดขึ้นไปตลอดระยะทางจนทำให้ระยะเวลาที่หยุดนิ่งสะสมมากเสียยิ่งกว่าระยะเวลาเดินทางที่ควรจะเป็น ทำให้กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความล่าช้าของการสื่อสารไม่ได้เกิดขึ้นจากการเดินทางที่ยากลำบากและความห่างไกลเสมอไป แต่น่าจะเกิดจากการอนุญาตให้หัวเมืองมีอำนาจตัดสินใจที่จะสื่อสารเมื่อใดก็ได้เสียมากกว่า
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้เขียนจะต้องลงนามในแบบฟอร์มรับรองบทความ เพื่อให้คำยืนยันความรับผิดชอบว่า บทความของผู้เขียนนั้นไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน พร้อมรับทราบว่า กระบวนการส่งบทความเข้าพิจารณาและตีพิมพ์ในวารสารไทยคดีศึกษานั้น จะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้เขียนขอยกเลิกการตีพิมพ์บทความในวารสารไทยคดีศึกษาไม่ว่าด้วยสาเหตุใด และหลังจากบทความนั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิไปแล้ว ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการประเมินเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
References
Annameses - Siamese War: On the Wars between Thailand, Laos, Cambodia, and Vietnam. (2007). Bangkok: Khosit.
Bunnag, T. (2005). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435 - 2458 [The Provincial Administration of Siam, 1892 - 1915]. Bangkok: Thammasat University.
Damrong Rajanubhab, Prince. (2012). พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช [The Biography of King Naresuan the Great]. Bangkok: Matichon.
Damrong Rajanubhab, Prince. (2017). นิทานโบราณคดี [Tales of Old Times]. Nonthaburi: Dok Ya 2000.
De la Loubère, S. (2014). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม [A New Historical Relation of the Kingdom of Siam]. Nonthaburi: Sripanya.
Department of Fine Arts. (1988). เรื่องกฎหมายตราสามดวง [Three Seals Law]. Bangkok: Department of Fine Arts.
Department of Fine Arts. (1996). ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระราชวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ [The Manual of Court Traditions in the Ayutthaya Period with the Royal Commentary of Prince Damrong Rajanubhab]. Bangkok: Department of Fine Arts.
Department of Fine Arts. (2003). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) [Collection of Notes on the History of Ayutthaya by Van Vliet]. Bangkok: Department of Fine Arts.
Eiawsriwong, N. (2007). นครศรีธรรมราชในราชอาณาจักรอยุธยา [NaKhon Si Thammarat in Ayutthaya Kingdom]. คาบสมุทรไทยในราชอาณาจักรสยาม [Thai Peninsular in Kingdom of Siam]. Bangkok: NaKhon.
Eiawsriwong, N. (2019). ว่างแผ่นดิน: ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ “กรุงแตก” ในสามราชอาณาจักร [Interregna in Comparison: Ineffectual Adjustment to Changes in the 18th Century among Three Mainland Southeast Asian Kingdoms]. Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project.
Jiachanpong, P. (2003). อย่าลืม! ราชสำนักเมืองเหนือที่พิษณุโลก [Don't forget! The northern court at Phitsanulok]. Art & Culture Magazine, 24(9), 102 - 107.
Kakizaki, I. (2015). Laying the Tracks: The Thai Economy and its Railways 1885 - 1935. Kyoto, Japan: Kyoto University Press.
Lertpanichakul, S. (2000). อยู่อย่างไพร่: ระบบพื้นฐานในสังคมไทยสมัยจารีต [Living as Subjects: The Fundamental System in Traditional Thai Society]. Bangkok: Nanmeebooks.
Lertrattanarungsri, W. (2015). การปฏิวัติคมนาคมกับการรวมศูนย์อำนาจของรัฐในสยาม พ.ศ. 2435 - 2475 [The Transportation Revolution and the Centralization of the State in Siam 1892 - 1932]. (Master’s thesis, Kasetsart University).
Lertrattanarungsri, W. (2020). เวลาอย่างใหม่กับการสร้างระบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 [New Times and the Making of Modern Bureaucracy in the Reign of King Rama V]. Art & Culture Magazine, 42(1), 74 - 100.
Miracle of Ancestors and the First Dynasty. (2002). Bangkok: Matichon.
Mongkut, King. (2005). พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [The Royal Letters of His Majesty King Mongkut]. Bangkok: Business Organization of the Office of the Teachers Council.
Mongkut, King. (2020). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 [Collected Proclamations of King Mongkut]. Bangkok: Sripanya.
NAT KS 4 Ministry of Agriculture. (n.d.). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/1 Reports of Nakhon Sawan. (January 1883 - November 1887). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/1 Reports of Krung Kao. (April 1878 - November 1885). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/13 Reports of Tak. (1885 - January 1886). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/2 Reports of Nan. (July 1885 - 15 May 1892). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/3 Reports of Prachin Buri. (April 1884 - November 1887). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/4 Reports of Nakhon Sawan. (January 1883 - November 1887). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/7 Reports of Pichai. (December 1888 - 14 January 1889). (n.p.).
NAT R.5 M 2.12K/8 Reports of Chachoengsao. (March 1877 - August 1884). (n.p.).
NAT R.5 PS 28/96 King Chulalongkorn’s Letters to Prince Maha Mala. (1884). (n.p.).
NAT SB 17 Diary of Prince Som Mot, (1884). (n.p.).
Office of National Culture Committee. (2003). ศักดินากับการพัฒนาทางสังคม และวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน [Feudalism and the Thai Socio - Cultural Development at the Present Time]. Bangkok: Ministry of Culture.
Office of the Royal Society. (2007). กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2 [Three Seals Law Volume Two (Office of the Royal Society Edition)]. Bangkok: Office of the Royal Society.
Pattiya, A. & Eiawsriwong, N. (2002). ศรีรามเทพนคร: รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น [Sri Ram Thep Nakhon: Essays on the History of Early Ayutthaya]. Bangkok: Matichon.
Pongsripian, W. (2004). การปกครองหัวเมืองของไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย [The Governance of Provincial Cities in the Late Ayutthaya Period]. จตุศันสนียาจารย์ [Chadhusaniyajan]. Bangkok: The National Historical Commission of Thailand.
Pongsripian, W. (2016). พระนครศรีอยุธยาในฐานะศูนย์กลางการปกครอง [Phra Nakhon Sri Ayutthaya as the Center of Government]. อโยธยาศรีรามเทพนครบวรทวารวดี มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศ เล่มที่ 1 [Ayothaya: The Heritage of Memories of Siam, Volume one]. Bangkok: Thai History Independent Research Project.
Royal Chronicle of Thonburi (Phan Chandhumat Edition). (2007). Nonthaburi: Sripanya.
Royal Chronicles of Ayutthaya (The Royal Autograph Edition). (2021). Nonthaburi: Sripanya.
Tale of Khun Chang Khun Phaen. (2012). Bangkok: Silpabannakan.
Udomsombat, Luang. (2002). จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ฉบับปรับปรุง) [Letters of Luang Udomsombat (Revised Edition)]. Nonthaburi: Sripanya.
Vallibhodama, S. (2010). กรุงศรีอยุธยาของเรา [Our Ayutthaya Kingdom]. Bangkok: Matichon.
Wales, Q. (1984). การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ [Ancient Siamese government and administration]. Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project.
Wanthana, S. (2015). ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ [Comparative Democratic Regimes]. Bangkok: The Political Science Association of Kasetsart University.
Wongthes, S. (2008). พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี และเอกสารประวัติศาสตร์จังหวัดปราจีนบุรี [The Royal Letters of King Rama V on His Visit to Prachinburi Circle and Historical Documents of Prachinburi Province]. Bangkok: Rueankaew Printing.