สภาพปัจจุบันและแนวทางของห้องสมุดประชาชนเพื่อเสริมสร้างพฤฒิพลัง สำหรับประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • โชคธำรงค์ จงจอหอ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุวิทย์ วงษ์บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤฒิพลัง, ห้องสมุดประชาชน, การเสริมสร้างพฤฒิพลัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางของห้องสมุดประชาชนเพื่อเสริมสร้างพฤฒิพลังสำหรับประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชนจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 17 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบบันทึกจากการสังเกต และแบบวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสรุปแบบอุปนัยและการบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา ดังนี้

  1. สภาพปัจจุบันของห้องสมุดที่เอื้อต่อการเสริมสร้างพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ห้องสมุดได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุด้วยชุดความรู้ที่หลากหลาย อาทิ ชุดความรู้ด้านสุขภาพ ชุดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดความรู้ด้านเครื่องจักสาน ชุดความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ชุดความรู้ด้านผ้าทอโบราณ ชุดความรู้ด้านอาหารพื้นบ้าน และชุดความรู้ด้านการปฏิบัติธรรม เป็นต้น
  2. แนวทางของห้องสมุดที่เอื้อต่อการเสริมสร้างพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วย แนวทางด้านเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ แนวทางด้านงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ แนวทางด้านทรัพยากรสารสนเทศทั้งแบบดั้งเดิมและแบบดิจิทัลที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ แนวทางด้านบุคลากรที่ต้องเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อการให้บริการในห้องสมุดเพื่อเสริมสร้างพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ แนวทางด้านบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้สูงอายุ
  3. ข้อเสนอแนะ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างคนสามวัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยชรา นอกจากนี้ควรพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างพลังของผู้สูงอายุอย่างหลากหลาย ตลอดจนควรพัฒนาเครือข่ายบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดเพื่อฝึกอบรมองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างพฤฒิพลังของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Anantakul, A. (2017). Aging Society . . . Challenges in Thailand. Bangkok: Academy of Moral and Political Sciences Office, Office of the Royal Society. [In Thai]

Assantachai, P. (2019). Trends of Innovation for the Elderly and Health Conditions. In Muangphaisan, W. (Eds). Health and Social Innovations for Aging Populations. Bangkok: Thai Society of Gerontology and Geriatric Medicine. [In Thai]

Chantavanich, S. (2018). Qualitative Research Methods (24th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Choo, C.W. (1995). Information Management for the Intelligent Organization: The Art of Environmental Scanning. Medford, NJ: Learned Information.

Inlek, R. (2013). Library Change to Confront Its Environmental Crisis. Information, 20(2), 71-79. [In Thai]

Kamphaeng Phet Provincial Public Health Office. (2022). The Elderly in Kamphaeng Phet Province in 2022. Kamphaeng Phet: Ministry of Public Health. [In Thai]

Kleechaya, P. (2020). Digital Technology Utilization of Elderly and Framework for Promoting Thai Active and Productive Aging. Journal of Communication Arts, 39(2), 56-78. [In Thai]

Murray, S. (2009). The Library: an illustrated history (ALA Editions). New York: Skyhorse.

National Statistical Office. (2017). Active Ageing Index of Thai Elderly. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society. [In Thai]

Phasukyud, P. (2010). Knowledge Management: KM Inside Edition. Bangkok: Knowledge Management Institution. [In Thai]

Phonthong, U. (2010). Development of an Active Aging Development Program for the Royal Thai Armed Forces Officers Based on the Concepts of Educational Gerontology and Experiential Learning. Dissertation Doctor of Philosophy (Non-Formal Education), Chulalongkorn University. [In Thai]

Prasartkul, P. (2014). Situation of Thai Elderly 2013. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. [In Thai]

Rattanaphan, A. (2018). Information for Study and Research. Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University. [In Thai]

Saiyarod, P. (2018). Aging Society. In Panyakaew, W. (Eds.), Introduction to Sociology

(4th ed.). Chiang Mai: Chiang Mai University. [In Thai]

Sanyawiwat, S. (2006). Theories and Strategies of Social Development (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Saraphon T. (2018). Information Needs to Improve Quality of Life for The Elderly of Elderly School in Ma-Aue Sub-District, Thawatburi District, Roi-Et Province. Nakhon Ratchasima Rajabhat University Community Research Journal, 12(3), 114-123. [In Thai]

Srisakda, R. & Boonchuay, K. (2017). The Operations of Songkhla Provincial Public Library Based on Governmental Measures to be Ready for the Era of Aging Society. Inthaninthaksin Journal Thaksin University, 12(1), 165-179. [In Thai]

Suthiprapa, K. & Tuamsuk, K. (2021). Reference Service Design for Academic Library: A Case of Digital Learning Launchpad Development. TLA Research Journal (Thai Library Association), 14(2), 1-17.

Upatum, P. (2021). Information Services Model of the Governmental Employment Promotion Agencies for Thai Elderly. TLA Research Journal (Thai Library Association), 14(2), 18-34. [In Thai]

Wipawin, N. & Premkamonnet, N. (2008). Library Innovation and Knowledge Management. Bangkok: C.A.T. Solutions. [In Thai]

Wittawuttisak, N. (2007). Information Literacy: Competencies Necessary for Lifelong Learning. TLA Bulletin (Thai Library Association), 51(2-special), 17–26. [In Thai]

World Health Organization. (2020). The United Nations Decade of Healthy Ageing (2021-2030). Retrieved August 30, 2021, from https://www.who.int/initiatives/decade-of-healthy-ageing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30