การพัฒนาต้นแบบระบบ M-learning เพื่อการจัดการสารสนเทศทางการศึกษาในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พิสุทธิ์ ศรีจันทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาต้นแบบ, ระบบ M-learning, การจัดการสารสนเทศทางการศึกษา, สภาพแวดล้อมทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาต้นแบบระบบ M-learning เพื่อการจัดการสารสนเทศทางการศึกษาในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัย  2) ประเมินคุณภาพของระบบ M-learning โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ M-learningโดยผู้สอนและผู้เรียน  วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบเชิงทดลองโดยการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา M-Learning เพื่อนำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศทางการศึกษาในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาต้นแบบระบบ M-learning เพื่อนำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศทางการศึกษาในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล ระบบ M-learning ได้แก่ 1.1) ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Moodle) แบ่งเป็น ผู้สอน (Teacher)  ผู้เรียน (Student) และผู้ดูแลระบบ (Admin) 1.2) เนื้อหาบทเรียนสำหรับใช้ในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 1.3) เครื่องมือในการสร้างและจัดการเนื้อหาบทเรียน, แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ 1.4) การประเมินผลการเรียนรู้ 2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบ M-learning โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.63) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ M-learning โดยผู้สอนและผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.49)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Andersen, K. (2019). Perceived User Experience Associated with M-Learning: An Exploratory Case Study. Retrieved February 16, 2024, from https://www.proquest.com/docview/2338040600?pq-origsite=gscholar&fromopenview=true

Kaewkiriya, T. (2015). Design and development of M-learning content based on game multimedia for iOS and Android. Romphruek Journal, 33(1), 119-135. [In Thai]

Meesuwan, W. (2020). Lessons learned from m-Learning management on PDA. Retrieved February 10, 2024, from http://www.edu.nu.ac.th/th/department/dep-resear/m-Learning%20PDA.pdf [In Thai]

New Prague Area Schools. (2022). What is a Digital Learning Environment (DLE)?. Retrieved February 10, 2024, from https://www.npaschools.org/digital-learning-environment

Rima, S., Almaiah, A.M., Shaha, A., Lutfi, A. & Mahmaod, A. (2023). A new technological model on investigating the utilization of mobile learning applications: Extending the TAM. Retrieved February 16, 2024, from DOI: 10.3390/mti7090092

Rossitto, C., Spikol, D., Pargman, C. T., & Hokstad, M. L. (2011). Exploring Design Methods for Mobile Learning. Retrieved February 16, 2024, from DOI: 10.1145/2037373.2037502.

Sopeerak, S. (2015). M-Learning. Academic Journal Bangkokthonburi University, 3(2), 32-42. [In Thai]

Tangbhornprasert, P. (2020). M-Learning : A new Mobile Learning and Teaching Method in 21st Century. Retrieved February 16, 2024, from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/185206 [In Thai]

Witeepanya, Bh. (2019). Report on the development of the m-Learning system at Wat Pho Thong Community School. “Pakasitwittaya”. Retrieved February 16, 2024, from http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640629_142714_4947.pdf [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23