การวิเคราะห์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2023
คำสำคัญ:
คุณภาพวารสาร, ดัชนีวัดคุณภาพวารสารประเภทควอไทล์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์จำนวนผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรากฏในฐานข้อมูล MUSC E-Publication ของคณะฯ ในช่วงปี ค.ศ. 2014-2023 รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพวารสาร และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพวารสารกับจำนวนการถูกอ้างอิง (Citations)
ผลการศึกษาพบว่า ผลงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในช่วง 10 ปี ค.ศ. 2014-2023 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,119 รายการ จำแนกเป็นประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ได้แก่ วารสาร (Journal) จำนวน 3,872 รายการ คิดเป็นร้อยละ 94.00 ประกอบด้วย ประเภทของเอกสารหรือบทความ (Document type) ได้แก่ บทความวิจัย (Article) จำนวน 3,691 รายการ คิดเป็นร้อยละ 89.61 บทความปริทัศน์ (Review) จำนวน 140 รายการ คิดเป็นร้อยละ 3.40 จดหมาย (Letter) จำนวน 23 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.56 บทบรรณาธิการ (Editorial) จำนวน 13 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.32 และ หมายเหตุ (Note) จำนวน 5 รายการ คิดเป็นร้อยละ 0.12 และ ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ประเภทการประชุมวิชาการ (Conference proceeding) จำนวน 185 รายการ คิดเป็นร้อยละ 4.49 และ หนังสือชุด (Book Series) จำนวน 62 รายการ คิดเป็นร้อยละ 1.51 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Quartile) และ Top 10% กำหนดผลงานเฉพาะ ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Source type) ประเภทวารสาร (Journal) และประเภทของเอกสารหรือบทความ (Document type) เป็นบทความวิจัย (Article) และ บทความปริทัศน์ (Review) มีจำนวนทั้งสิ้น 3,831 รายการ โดยจำแนกผลงานตามวารสารกลุ่ม Q1 จำนวนทั้งหมด 2,146 รายการ (ร้อยละ 56.02) และมีกลุ่ม Top 10% จำนวน 725 รายการ (ร้อยละ 33.78 คำนวณจากจำนวนวารสารกลุ่ม Q1) รวมถึงวารสารกลุ่ม Q2 จำนวน 1,004 รายการ (ร้อยละ 26.21) วารสารกลุ่ม Q3 จำนวน 381 รายการ (ร้อยละ 9.95) วารสารกลุ่ม Q4 จำนวน 152 (ร้อยละ 3.97) และวารสารกลุ่มที่ไม่ปรากฏค่า Q (No Q) จำนวน 148 รายการ (ร้อยละ 3.86) ตามลำดับ
Downloads
References
Apinya, I. (2024). An Analysis of Factors Affecting Numbers of Citations of Academic Officers at the Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University Published in Scopus Database. Journal of Information Science Research and Practice, 42(1), 37–57. https://doi.org/10.14456/jiskku.2024.3 [In Thai]
Division of Planning. (2018). Mahidol University Strategic Plan 2018-2037. Mahidol University.
Dorta-González, P., & Dorta-González, M. I. (2023). Citation differences across research funding and access modalities. The Journal of Academic Librarianship, 49(4), Article 102734.
Faculty of Science, Mahidol University (2024). About the Faculty: Vision. Retrieved 20 January 2024 from https://science.mahidol.ac.th/aboutsc.php [In Thai]
Huang, C.-K., Neylon, C., Montgomery, L., Hosking, R., Diprose, J. P., Handcock, R. N., & Wilson, K. (2024). Open access research outputs receive more diverse citations. Scientometrics, 129(2), 825-845. https://doi.org/10.1007/s11192-023-04894-0
Mahidol University. (2019). Announcement on the Criteria and Rates for Supporting the Publication of Research Articles (Original Articles) or Review Articles with Article Processing Charges (APC), B.E. 2562 (2019). [In Thai]
Mahidol University. (2024). Announcement on the Criteria and Rates for Supporting Manuscript Preparation, Publication Fees, and Rewards for Publishing Articles in International Academic Journals, B.E. 2567 (2024). [In Thai]
Miranda, R., & Garcia-Carpintero, E. (2019). Comparison of the share of documents and citations from different quartile journals in 25 research areas. Scientometrics, 121(1), 479-501. https://doi.org/10.1007/s11192-019-03210-z
Willens, J. S. (2014). What Does It Take to have a High-quality Journal? Pain Management Nursing, 15(4), 719.
THE - Times Higher Education. (2024). World University Rankings 2024: methodology. Retrieved 25 May 2024 from https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/world-university-rankings-2024-methodology
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.