การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง วรรณยุกต์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • พิชชาพร วรรณวัตน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สุธิวัชร ศุภลักษณ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เพียงเพ็ญ จิรชัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์, วรรณยุกต์ไทย, การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ ฯ (2) ศึกษาความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง วรรณยุกต์ไทย (3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและ (4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก 1 ห้องเรียน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์  แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อ แบบประเมินความสามารถด้านการอ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ มีคุณภาพด้านเนื้อหา ในระดับดีมาก และด้านสื่อ ในระดับดี (2) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด้านการอ่านในระดับมาก (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก

Downloads

References

Aunjai, P. (2011). Development of an e-book on Words Not Spelling for Grade 2 Students. (Master's thesis, ME in Computer Studies, Graduate School, Mahasarakham Rajabhat University, Thailand). [In Thai]

Banlangpatama., T. (2021). Principles of Thai language and use, Grade 3. Creative Media for Learning Co., Ltd. [In Thai]

Chanchai, S. (2014). Teaching and learning design and development. Petchkasem Printing Group Nakhon Pathom. [In Thai]

Chuacharoen, P. (2015). Results of using the e-book on vocabulary of 1st year students with different levels of reading ability. (Master's thesis, ME in Educational Technology, Department of Educational Technology, Graduate School, Silpakorn University, Thailand). [In Thai]

Deepan, K. (2018). The effects of using the GPAS learning method on critical reading ability and satisfaction with learning management of mathayom suksa v students at benchamatheputhit phetchaburi School. (Master's thesis, M.Ed. Curriculum and Instruction, Sukhothai Thammathirat Open University). [In Thai]

Khewsri, S. (2018). Development of interactive E-Books to support reading skills of upper primary school students with reading disabilities. Journal of Social Work. 26(1), 192-226.

Kasetsart University. (2019). Conditions of problems in reading and writing Thai among students. Thai Reading, Speaking and Writing Project MOVE School under the Royal Initiative Project – Nan. [In Thai]

Ministry of Education. (2017). Basic education core curriculum B. E. 2551 (A.D. 2008) and learning standards and indicators (Revised Edition B.E. 2560). Retrieved August 19, 2023, from http://academic.obec.go.th/web/mission/view/34

Ministry of Education. (2019). National Education Act 1999. Retrieved August 19, 2023, from https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542

Po Ngern, W., Sithsungnoen, C., Nilapun, M., and Poomraruen, A. (2021).The effect of using the model to enhance the quality of teaching based on learning according to GPAS 5 steps to enhance students’ learning skillsin Thailand 4.0 of the elementary education. Journal of Research and Curriculum Development. 11(1), 22-35.

Salarim, N. (2015). Development of interactive e-books on idioms, proverbs, aphorisms, Thai language learning strands for grade 6 students. (Master's thesis, ME in Educational Technology and Communication, Naresuan University, Thailand). [In Thai]

Singphome, P. and Thongyu, P. (2017). Principles of electronic book design. Thai Khu Fah, Bangkok. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23

How to Cite

วรรณวัตน์ พ. ., ศุภลักษณ์ ส., & จิรชัย เ. (2024). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง วรรณยุกต์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 . วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 68(1), 143–163. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/view/270986