About the Journal
Aims and Scope |
|
วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร ISSN: 2985-0797 (Online) เป็นวารสารวิชาการของสถาบันพัฒนาพระวิทยากร ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศาสนศึกษา และพุทธศาสนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือการประยุกต์พุทธศาสนากับสาขาวิชาอื่น เช่น การศึกษา การพัฒนาสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน บทความทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับการสอน และการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ผู้เขียนที่ส่งผลงานจะต้องจำแนกต้นฉบับของตนโดยเลือกขอบเขตจากพุทธศาสนาทั้งสองกลุ่มนี้ ดังต่อไปนี้: กลุ่มที่ 1 พระพุทธศาสนาแบบดังเดิม ได้แก่ หลักพุทธธรรม การวิเคราะห์หลักพุทธธรรม 1.1 พุทธธรรม หมายถึง หลักคำสอนที่เกิดจากการถ่ายทอดของพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก เช่น อริยมรรค ศีล อริยสัจ เป็นต้น 1.2 การวิเคราะห์หลักพุทธธรรม หมายถึง การตีความหลักธรรมด้วยทฤษฎีทางด้านการตีความ เพื่ออธิบายและขยายความคำสอนที่ปรากฎในพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ 2 พุทธศาสนาประยุกต์ หมายถึง การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ 2.1 พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม เช่น ค่ายคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน การจัดฝึกอบรมพระวิทยากร เทศกาลและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา 2.2 การบูรณาการหลักธรรมกับการศึกษา การบริหารการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร เช่น การประยุกต์ใช้โยนิโสมนสิการกับการเรียนการสอน 2.3 พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
|
|
ประเภทของบทความ |
|
วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากรตีพิมพ์ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความวิจัย คือ บทความที่นำเสนองานวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศาสนศึกษา และพุทธศาสนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือการประยุกต์พุทธศาสนากับสาขาวิชาอื่น เช่น การศึกษา การพัฒนาสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน บทความทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับการสอน และการวิจัยทางพระพุทธศาสนา บทความวิจัยต้องระบุเนื้อหาที่ชัดเจน กระชับ มีความคิดริเริ่ม มีโครงสร้างที่ดี และรวมถึงการอภิปรายผลการวิจัยด้วย จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิจัยจะต้องไม่เกิน 8,000 คำ บทความวิชาการ บทความวิชาการนำเสนอบทวิเคราะห์เนื้อหาที่มีลักษณะการตีความทฤษฎีที่อ้างอิงถึงหลักการที่ถูกนำเสนอจากนักวิชาการที่น่าเชื่อถือและถูกต้องตามหลักวิชาการ และสนับสนุนองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิชาการจะต้องไม่เกิน 8,000 คำ
|
|
กำหนดการเผยแพร่วารสาร (Publication Frequency) |
|
|
กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 4 ฉบับ เป็นราย 3 เดือน |
|
ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม |
|
ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน |
|
ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน |
|
ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม |
|
|
ภาษาที่รับตีพิมพ์ |
|
วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากรเผยแพร่บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลงานที่เป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ (โปรดศึกษารายละเอียดในคำแนะนำสำหรับผู้เขียน) ผลงานที่ส่งเข้ามาในวารสาร จะต้องมีตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของภาษานั้นๆ |
|
|
|
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ |
|
วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ 4,000 บาท |
|
|
|
เจ้าของและการจัดการ |
|
สถาบันพัฒนาพระวิทยากรเป็นเจ้าของวารสารโดยได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กระบวนการและการกำกับดูแลของวารสารสามารถรักษามาตรฐานการตีพิมพ์ในระดับสูงผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้มงวด |
|
|
|
สำนักพิมพ์ |
|
วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร เป็นวารสารอย่างเป็นทางการของสถาบันพัฒนาพระวิทยากร และวารสารอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
|
|
|
กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process) |
|
วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากรมีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ บทความที่จะได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 หรือ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อ หรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) และมีเงื่อนไขในการพิจารณาและคัดเลือกบทความ |
กระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ |
|
1. ขั้นตอนการตรวจสอบบทความเบื้องต้น |
ผู้เขียนส่งต้นฉบับบทความมาที่วารสาร กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสอดคล้องของจุดมุ่งหมาย ขอบเขต เนื้อหา และรูปแบบของความถูกต้องของต้นฉบับว่าถูกต้องตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนดหรือไม่ กรณีที่ต้นฉบับไม่สอดคล้องกับวารสาร ต้นฉบับจะถูกปฏิเสธในขั้นตอนนี้ หากต้นฉบับสอดคล้องกับวารสาร กองบรรณาธิการจะตรวจสอบรูปแบบและการอ้างอิงให้เป็นไปตามเกณฑ์ หากต้นฉบับมีรูปแบบและการอ้างอิงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จะส่งคืนให้แก้ไขในขั้นตอนนี้ หากบทความมีรูปแบบและการอ้างอิงถูกต้อง บทความจะถูกส่งไปขั้นตอนการประเมินต่อไป |
|
2. ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ประเมินบทความ |
หลังจากกองบรรณาธิการเลือกต้นฉบับเบื้องต้นว่ามีความถูกต้องตามรูปแบบและการอ้างอิงแล้ว จะส่งต้นฉบับไปให้ผู้ประเมินบทความอย่างน้อยสองคนที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นที่มาจากสถาบันที่แตกต่างหลากหลาย ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน กองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับบทความไม่ระบุชื่อผู้เขียน ส่วนผู้ประเมินจะประเมินคุณภาพต้นฉบับให้ตรงตามหลักการทางวิชาการ ผู้ประเมินจะมีเวลาประเมินบทความสองสัปดาห์ และอาจมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ปฏิเสธ หรือเงื่อนไขอื่นตามที่วารสารกำหนด |
|
3. ขั้นตอนการตรวจสอบผลการประเมินบทความ |
วารสารจะส่งผลการประเมินบทความผ่านการเงื่อนไขคือการยอมรับตีพิมพ์ การปฏิเสธ การยอมรับด้วยการดำเนินการของบรรณาธิการที่ไม่ว่าจะยอมรับ ปฏิเสธ หรือมีข้อแก้ไขอื่นๆ ให้ผู้เขียนผ่านระบบออนไลน์พร้อมข้อเสนอแนะ |
|
4. ขั้นตอนการแก้ไขบทความ |
หากบทความมีการแก้ไข ผู้เขียนจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ประเมิน เมื่อแก้ไขแล้วให้ส่งต้นฉบับที่แก้ไขเพียงไฟล์เดียวจะต้องมีข้อความคิดเห็นของผู้ประเมิน และส่งกลับเข้ามาในระบบตามวันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนมีเวลาในการปรับแก้ไขไม่เกินสองสัปดาห์ หรือสามสัปดาห์หากมีการแก้ไขมาก ในกรณีที่มีการแก้ไขมากจะมีการตรวจสอบอีกครั้งจากผู้ประเมินไม่เกินสองสัปดาห์ แต่หากมีการแก้ไขเล็กน้อยจะไม่ส่งผู้ประเมินอีกครั้ง |
|
5. ขั้นตอนการตีพิมพ์ |
ต้นฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจนถึงขั้นตอนการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบต้นฉบับ ในการพิสูจน์อักษรและการประเมินตามการทางวิชาการและมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างเข้มงวด เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าวารสารจะตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพสูงภายในกรอบเวลาหนึ่งสัปดาห์ |
อัตราค่าตีพิมพ์ผลงาน
บทความวิจัยและบทความวิชาการ 4,500.-บาท ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากกองบรรณาธิการพิจารณาตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว โดยจะมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางวารสารต่อไป
***** กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้เขียน ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากรหรือไม่ก็ตาม *****
ขั้นตอนการดำเนินงานวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร