ฺBook review The Happiness Hypothesis Finding Modern Truth in Ancient Wisdom

Main Article Content

วุทธ ทองมั่น

Abstract

“ความสุข” ชื่อเรียกสภาวะสำคัญในทุกภาษาที่ล้วนเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ ไม่จำกัดเฉพาะเพียงพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทั่วทั้งโลก เมื่อพูดถึงความสุข มักจะนึกถึงเรื่องราวในเชิงอารมณ์ความรู้สึก เหตุการณ์ที่ประทับใจ ภาวะที่จิตใจเต้นรัว เบิกบาน โลดโผน หรืออิ่มเอม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้มิได้ให้คำจำกัดความในมิตินามธรรมเท่านั้น ยังนำเสนองานวิจัย การผนวกหลักฐานและการทดลองทาง “วิทยาศาสตร์” เข้ามาร่วมปะทะสังสรรค์ด้วย ทำให้งานเขียนชิ้นนี้สามารถเปิดมุมมองของผู้อ่านชาวไทยให้ขยายกว้างขึ้นโดยเข้ากับบริบทที่มนุษย์มีความแตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น


“วิทยาศาสตร์แห่งความสุข: สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” เป็นผลงานเขียนของ โจนาธาน เฮดต์ (Jonathan Haidt) แปลโดยโตมร ศุขปรีชา จากสำนักพิมพ์ซอลท์  ผู้เขียนเป็นชาวยิว ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นนักจิตวิทยาสังคม พร้อมกับเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (ปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก) ทำการทดลองเพื่อทำความเข้าใจแง่มุมในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ ในเรื่องศีลธรรมและอารมณ์ความรู้สึกเชิงศีลธรรม โดยทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงศีลธรรมในระบบวัฒนธรรมทั้งของฝ่ายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม

Article Details

Section
Book Review

References

พระพรหมบัณฑิต. (2562). ความสุขที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เฮดต์ โจนาทาน. (2562). วิทยาศาสตร์แห่งความสุข: สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : ซอลท์ พับลิชชิ่ง.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สวย.