The การพัฒนาแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 37 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้และคู่มือ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (DECKDE Model) มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดเป้าหมาย (Destine) กระตุ้นความสนใจ (Encourage) เข้าถึงปัญหา (Attach the problem) ร่วมคิด ร่วมทำ (Co-working) สร้างสรรค์นวัตกรรม (Devise innovation) และสะท้อนองค์ความรู้ (Express to concept) 4) การวัดและประเมินผล 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 81.08/83.40 2. หลังจากนักเรียนเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (DECKDE Model) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
จิตติมา พิศาภาค. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทยปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2009.158
ทรงธรรม พลับพลา. (2553) . การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหาระคนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับเทคนิค KWDL [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ww.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7560?attempt=2&.
ภัทรา อุ่นทินกร, และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19 (1), 206 – 219.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา). (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา). http://www.satitele.su.ac.th/?page_id
=443
วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. http://www.newonetresult .niets.or.th/
AnnouncementWeb/Login.aspx
สุวิมล สพฤกษ์ศรี. (2554). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และทักษะการอ่านวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2011.475
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.พ.ศ.2555-2559 (ฉบับที่ 11). http://planning.nida.ac.th/main/images/Planning%20Division/Plan/PlanHEdu11
_2555-2559. pdf
อาภรณ์ แสงรัศมี. (2543). ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://doi.nrct.go.th//ListDoi/
listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2011.475
Beers, S. Z. (2011). Teaching 21st century skills: an ASCD action tool. ASCD.
Brenner, Y. M. (2010 ) . BASED LEARNING AND LEADERSHIP DEVELOPMENT: A CASE STUDY. [Doctoral dissertation, Columbia University].
Charles, R., & Lester, F. K. (1977). Teaching Problem Solving : What Why & How. Ca: Dale Seymour Publication.
Kruse, K. (2008). Instructional design. http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/Learning
Theory.htm