ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1 )เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปากับแบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาและแบบปกติ และ 3)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นนักเรียน 65 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่ง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาสูงกว่ากลุ่มได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปามีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังของเรียนสูงกว่าก่อนเรียนนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
ฉัตรลดา สัพโส. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปา ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชนนิกานต์ ฉ่ำเมืองปักษ์. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการ เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดล CIPPA MODEL.วารสารคุรุศาสตร์. 30(4): 65-70.
ทิศนา แขมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการะบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 15 .กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาณิสรา อามะรีณ์. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่องยีนและโครโมโซม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยรังสิตปทุมธานี.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ. ตถาตาพับบลิเคชัน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สสวท.
Weir. (1974). Problem Solving is Everybody’s Problem. Science Teacher,4, 16-18.