ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีเพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 327 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร โดยภาพรวม และรายด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านสังคม ด้านการเห็นใจผู้อื่น ด้านจูงใจตนเอง ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านการจัดการอารมณ์ 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการวัด และประเมินผลทางการศึกษา ด้านการนิเทศของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร ประกอบด้วย ด้านสังคม (X5) ด้านการเห็นใจผู้อื่น (X4) ด้านจูงใจตนเอง (X2) ด้านการเข้าใจตนเอง (X3) และด้านการจัดการอารมณ์ (X1) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 78.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ tot = 0.77 + 0.28 (X5) + 0.24 (X4) + 0.11 (X2) + 0.11 (X3) + 0.10 (X1)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
ข้อความที่ปรากฎอยู่ในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
References
กรมสุขภาพจิต. 2543. อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทศพร ประเสริฐสุข. (2542). “ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์กับการศึกษา”. วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. 1 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2542) 8 - 24
นุชเรศ คำดี. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นงครักษ์ ทันเพื่อน. (2550). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปวีณา บุศยรัตน์. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของ ครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
สุภาวดี วุฒิรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานด้านบุคคล ของสถานศึกษา อำเภอไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). รายงานการติดตามและประเมินความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษาด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เซ็นจูรี่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.