การประเมินความต้องการและแนวทางการสร้างทีมงานของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

Main Article Content

ณัฏฐธิดา แสงช่วง
เชาวนี แก้วมโน
ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร 3) เปรียบเทียบสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร 4) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร และ 5) ศึกษาแนวทางการสร้างทีมงานของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่มีความอิสระต่อกัน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผู้บริหารที่มีตำแหน่งในสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ผู้บริหารที่มีตำแหน่งในสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. การประเมินความต้องการจำเป็นของการสร้างทีมงานของผู้บริหาร ในภาพรวมมีความต้องการจำเป็น (PNImodified= 0.185) 5. การสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการสร้างทีมงานของผู้บริหาร พบว่า แนวทางที่สำคัญในการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย 2) ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง 3) ด้านการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 4) ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม 5) ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และ 6) ด้านการสื่อสารที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิภาพร นาราช. (2558). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลําเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทํางานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อําเภอเมืองตราด สังกัดสํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริชัย อ้อนอุบล. (2560). การสร้างทีมงานและแนวทางพัฒนาการสร้างทีมงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563–2565. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริม การปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อารีย์ ไกรเทพ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผูบ้ริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Kaufman, R., et al. (2000). Needs Assessment: A User’s Guide. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology.

Woodcock, M. and Francis, D. (1994). Team building strategy. Hampshire: Gower.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.