ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในอำเภอสุไหงโก-ลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2

Main Article Content

มารียะ สาเระ
นวรัตน์ ไวชมภู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอสุไหงโก-ลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างขวัญและกําลังใจการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู โรงเรียนในอำเภอสุไหงโก-ลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จำนวน 191 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามขวัญและกำลังใจของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .814 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีอิสระ และค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความสำเร็จ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้าน ความมีสัมพันธภาพ และด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ในขณะที่จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่าครูที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดกลาง มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานด้านความก้าวหน้าในอาชีพมากกว่าครูที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการสร้างขวัญและกําลังใจการปฏิบัติงานของครู มีดังนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาควรมีนโยบายส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู เสริมสร้างสภาพแวดล้อม ความมั่นคงในอาชีพ การได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร สวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม สร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ และเกิดความก้าวหน้าในอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ทองเรือ. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศึกษา มมร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(2): 13-25.

จันทร์เพ็ญ พึ่งเพ็ง, อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2560). ขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชนัญดา พั้วพวง. (2563). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายวังหลวงหนองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธาน, 8(1): 167-179.

ณรงค์ฤทธิ์ นิ่มมาก. (2554). ขวัญกำลังใจและความท้อถอยในการปฏิบัติงานของครูฝึกประจำฟิตเนสเซนเตอร์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 8(1): 49-60.

นิลุบล ภมร. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

นิศากร ศรีบัว. (2552). ความพึงพอใจของพนักงานเทศบาลที่มีต่อการปฏิบัติงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญละกําลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(3): 1-12.

ไอยรัตน์ คงทัพ. (2564). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(2): 49-62.

Herzberg, F. (1975). The Motivation to work. (2 "). New York Johns Wiley & Sons.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, (30)(3): 607–610.