การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีการสอนแบบดีอาร์-ทีเอ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วชิรา ใจสมุทร
พล เหลืองรังษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้กลวิธีการสอนแบบดีอาร์-ทีเอ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้กลวิธีการสอนแบบดีอาร์-ทีเอ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเสม็ด อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนการอ่านแบบดีอาร์-ทีเอ ผลการศึกษาพบว่า 1. การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบดีอาร์-ทีเอ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์-ทีเอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.98

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรพร หนูลาย. (2560).ผลการใช้วิธีการสอบแบบ SQ4R ที่มีต่อความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชนิกา วิชานนท์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐานิยา อมรพลัง. (2564). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทย เรื่อง ไตรยางศ์ ด้วยแบบฝึกเกมและเพลงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐธิดา กลางประชา. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading-Thinking Activity). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Stauffer. (1975).The Cambridge Handbook of Multimedia Learning. New York: Cambridge University.

Teirney, et al. (1995). Responding to Social Chang. Pennsylvania: Dowde.