การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐาน รายวิชาดนตรีระหว่างวิธีสอนแบบโคดายกับวิธีสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วสันต์ แต้มแก้ว
วัน เดชพิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานรายวิชาดนตรีระหว่างก่อนกับหลังได้รับวิธีสอนแบบโคดาย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานรายวิชาดนตรีระหว่างก่อนกับหลังได้รับวิธีสอนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานรายวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับวิธีสอนแบบโคดายกับหลังได้รับวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ของโรงเรียนวรคามินอนุสรณ์ จำนวน 48 คน ตามจำนวนที่ได้จากตารางสุ่ม Krejcie & Morgan เข้ารับการทดลองจำนวน 2 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างง่าย เข้าเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะคีย์บอร์ดพื้นฐาน แบบฝึกทักษะคีย์บอร์ดพื้นฐานโดยวิธีสอนแบบโคดาย แผนการสอนแบบโคดาย และแผนการสอนแบบปกติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ Dependent t-test และ Independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานในรายวิชาดนตรีหลังได้รับวิธีสอนแบบโคดายสูงกว่าก่อนได้รับวิธีสอนแบบโคดายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานในรายวิชาดนตรีหลังได้รับวิธีสอนแบบปกติสูงกว่าก่อนได้รับวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคีย์บอร์ดพื้นฐานในรายวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับวิธีสอนแบบโคดายสูงกว่าหลังได้รับวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธิศักราช 2542. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธวัชชัย นาควงษ์. (2540). หลักสูตรการสอนดนตรีสากลโดยใช้วิธีการตามแบบของโคได. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นงจิตร แก้วไชย. (2547). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของโคไดที่มีต่อทักษะทางการร้องของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉวีวรรณ ฤาชา. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสน่ห์ แตงทอง. (2542). ภาพอนาคตทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านคลองตัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, (30)(3): 607-610.