รูปแบบการบริหารโรงเรียน ในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ สีสัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุวิมล โพธิ์กลิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ดุจเดือน ไชยพิชิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหาร, มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษา จำนวน 6 โรงเรียน ที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างด้านการบริหาร ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหาร และครู โรงเรียนละ 5 คน รวมจำนวน 30 คน จัดทำรูปแบบและคู่มือ ประเมินความเหมาะสม และ ความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 19 คน พร้อมทั้งประเมินรูปแบบและคู่มือ แล้วนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษา ปรากฏว่า สภาพการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ ด้านบริหารงานทั่วไป สภาพปัญหาที่พบคือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการดำเนินการด้านการบิหารงานทั่วไปไม่เป็นระบบ ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีการนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงาน รูปแบบการบริหารโรงเรียน ในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 3 หลักการ ได้แก่ หลักการบริหาร หลักการบูรณาการ และหลักการใช้เครือข่าย 2) วัตถุประสงค์ คือ การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล 3) กลไกการดำเนินงาน คือ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ และคณะกรรมการบริหาร 4) วิธีดำเนินการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การนำ และการควบคุม ซึ่งดำเนินการผ่านงานทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านบริหารงานทั่วไป 5) การประเมินผล โดยประเมินความสำเร็จของกระบวนการนำรูปแบบมาใช้ในการบริหาร และประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู ที่นำรูปแบบมาใช้ในการบริหารโรงเรียน และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ จากผู้บริหารโรงเรียนตระหนักในความจำเป็นของการพัฒนา การประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรทุกคนให้ความร่วมมือในการบริหารงาน ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียน ในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความเห็นว่าถ้านำรูปแบบการบริหารโรงเรียน ในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยไปใช้ในการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียนได้

References

ดิเรก วรรณเศียร. การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
ธีระ รุญเจริญ. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ขาวฟาง, 2546.
วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ. ผู้บริหารใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา: ผลการวิจัยเพื่อการวิพากษ์. กรุงเทพฯ: บรัษัทอักษราพิพัฒน์, 2545.
สมุทร ชำนาญ. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการจัดการศึกษา เอกชนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2545.
สํานักงานปฏิรปการศึกษา. ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์, 2545.
อุดม ฉายาภักดี. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้ยฐานขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสาน.2553.
อุทัย บุญประเสริฐ. การบริหารและจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
Daresh, J.C. and Playko, M.A. The Professional Development of School Adminitrators. New Jersey : Merrill Prentice – Hall, 1992.
Dean, R. l. Kinetic studies with alkaline phosphatase in the presence and absence of inhibitors and divalent cations. Biochemistry and Molecular Biology Education, 30(6) (May 2002) 401-407.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07