รูปแบบการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล

ผู้แต่ง

  • กัลยา บุญวัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุวิมล โพธิ์กลิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สมาน อัศวภูมิ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงบประมาณ, เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงานด้านงบประมาณสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 13 จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ จำนวน 2,725 โรงเรียน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่เป็นแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบงานด้านงบประมาณสถานศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ จำนวน 9 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการของการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องการพัฒนา อยู่ในระดับมาก คือ การวางแผนงบประมาณ 2) รูปแบบการบริหารงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย 30 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การวางแผนงบประมาณ มี 4 องค์ประกอบย่อย 2) การคำนวณต้นทุนผลผลิต มี 4 องค์ประกอบย่อย 3) การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มี 5 องค์ประกอบย่อย 4) การบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ มี 4 องค์ประกอบย่อย 5) การบริหารสินทรัพย์ มี 5 องค์ประกอบย่อย 6) การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงานมี 5 องค์ประกอบย่อย และ 7) การตรวจสอบภายในมี 3 องค์ประกอบย่อย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2545). ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน มาตรฐานการจัดการทางการเงิน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงการคลัง. (2546). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : กองกฎหมายและระเบียบสำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2536). กฎหมายและระเบียบการเงินและพัสดุสำหรับสถานศึกษา.กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
เชิดชัย มีคำ. (2540). คู่มือปฏิบัติงานคลัง. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กวี วงศ์พุฒ. (2540, มกราคม-กุมภาพันธ์). การบริหารงบประมาณที่ดีต้องทำให้มีประสิทธิภาพ. วารสารเพิ่มผลผลิต. 36(7) : 30-39.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2552.
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2546.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มแอนไซเท็กซ์, 2544.
ภูมิภาคิณศม์ อิสสระยางกูล.การพัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินในอนาคตสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
ฐิติรัตน์ นาพัง. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำเร็จ ธงศรี. (2559). รูปแบบการบริหารงานงบประมาณแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนมัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-11