การบริหารจัดการยุคดิจิทัลมีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการยุคดิจิทัล, แนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน, การให้บริการสาธารณะ กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการยุคดิจิทัลมีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และศึกษาการบริหารจัดการยุคดิจิทัลมีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยใช้วิธีการจับฉลากเลือกเขต จำนวน 6 เขต แบ่งเป็น 3 เขต เหนือ และอีก 3 เขตใต้ ได้แก่ สำนักงานเขตธนบุรี สำนักงานเขตบางกอกน้อย สำนักงานเขตสวนหลวง สำนักงานเขตวังทองหลาง สำนักงานเขตหลักสี่ สำนักงานเขตคลองเตย เก็บกลุ่มตัวอย่างเขตละ 185 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,110 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวจำนวน 9 ท่าน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์การถดถอย ผลสรุป พบว่า การบริหารจัดการยุคดิจิทัลด้านการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชน ความเป็นมืออาชีพ ความน่าเชื่อถือ ความเป็นประชาธิปไตย ความสะดวกรวดเร็ว มีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจหรือความเจริญก้าวหน้า ด้านคุณภาพชีวิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล (2559). รูปแบบกรุงเทพมหานครในทศวรรษหน้า. วารสารสมาคมนักวิจัย ( 21) 2 หน้า 188 – 201.
ปรีชา คฤหวาณิช และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “ศักยภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น) 14) 1 หน้า 234-248.
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. (2549) พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟรเพซ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ ทันสมัยเพื่อ ให้บริการ ประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิดPANT-ITERMS” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น (14) 1 หน้า 108-121.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2559) การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ : การปฏิรูป กรุงเทพมหานคร.
อำนวย บุญรัตนไมตรี นิพนธ์ ไตรสรณะกุล (2558) การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการ บริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษย์ สังคมปริทัศน์ (17) 2 หน้า 93 – 108.
Boston, Jonathan., Martin, John. Pallot, June. and Walse, Pat. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Auckland: Oxford University Press.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
Shafritz, Jay M., Ott, J. Steven. and Jang, Yong Suk. (2011). Classics of Organization Theory. Seventh Edition, Boston, Massachusetts: Wadsworth Cengage Learning.
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row