กลยุทธ์การพัฒนาศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีและแนวความคิดในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ และเพื่อเสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ ให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของวิทยาลัยฯ โดยได้ออกแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบสภาพแวดล้อม 2 ชิ้น คือ SOAR Analysis และ PESTEL Analysis ผลของการวิจัย พบว่า แนวความคิดในการกำหนดกลยุทธ์มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ แล้วทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้รับมาทำการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การนั้นๆ ต่อไป สำหรับสภาพแวดล้อมของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกนั้น เนื่องจากอยู่ในระยะเริ่มต้นในการจัดตั้งองค์การ จึงมีปัญหาอุปสรรคในด้านต่างๆ ทั้ง 11 ด้าน คือ ด้านนวัตกรรม ด้านผลิตภาพ ด้านการเรียนรู้ ด้านแรงจูงใจจากภายใน ด้านแรงจูงใจภายนอก บรรยากาศการทำงานเป็นคณะ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านต้นทุน ด้านรายได้ ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านภาวะผู้นำจากสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบัน กลยุทธ์การพัฒนาหน่วยบ่มเพาะธุรกิจแห่งวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกที่เหมาะ จึงสามารถกำหนดได้ 6 กลยุทธ์ คือ (1.) กลยุทธ์การพัฒนาหน่วยบ่มเพาะธุรกิจฯ (2.)กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร (3.)กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรม (4.)กลยุทธ์การจัดหาแหล่งทุน (5.) กลยุทธ์การเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการหน้าใหม่ และการสนับสนุนด้านองค์ความรู้แก่สมาชิก
References
พระพรหมคุณาภรณ์. 2555. โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. [Online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/yonisomanasikara_thinking_in_ways_of_buddhadhamma.pdf
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. 2559. ร่างระเบียบสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ว่าด้วยการบริหารศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก พ.ศ.2559. กรุงเทพ:อัดสำเนา.
สมเกียรติ อินทวงศ์ สุกัญญา แช่มช้อย สำราญ มีแจ้ง และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน. 2558. การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะเพื่อสร้างผู้ประกอบการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&
browse_type=title&titleid=398230&query=การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์บ่มเพาะ&s_mode
=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2561-03-28&limit_lang=&limited_lang_code=
&order=&order_by=&order_typeสำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา .2555. โครงการสนับสนุนหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.mua.go.th/users/bphe/bs/ubi.html=&result_id=1&maxid=3
สามารถ สุวรรละโพลง ชัชชัย สุจริต และศิริกาญจน์ ธรรมยัติวงศ์. 2559. รูปแบบการบริหารจัดการผู้ประกอบการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//search_result.php
สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา. 2555. โครงการสนับสนุนหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา. [Online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.mua.go.th/users/bphe/bs/ubi.html.
Eric Christian Brun. 2016. Start-up development processes in business incubators. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://web.a.ebscohost.com/ehost/detail/detail?vid=3&sid=925b41bb-9b88-47a2-bca3-c5820e39975f%40sessionmgr4008&hid=4109&bdata=JnNpdGU9ZWhvc3QtbGl2ZQ%
3d%3d#AN=117204933&db=bthSARFRAZ A. MIAN 2016
James D. Lester. 1993. Writing Research Papers: A Complete Guide. USA: Addison Wesley Publishing Company.UNAIDS (2010
Kaplan, R. S., and Norton, D. P. 2005. The Office of Strategy Management. Harvard Business Review, 10 (October)
Wikipedia. 2012. Structural functionalism. [Online] เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki Structural_functionalism