การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องกติกาฟุตบอล รายวิชาการเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอล สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นเรศ ขันธะรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วิจัยปฏิบัติการ, กติกาฟุตบอล, การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนรู้เรื่องกติกาฟุตบอล รายวิชา การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาผลการปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้เรื่องกติกาฟุตบอล รายวิชาการเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอล ช่วงก่อนและหลังปฏิบัติการ นักศึกษากลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หมู่เรียน ค.บ.57.02.2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดการเรียนสำหรับครู ชุดการเรียน ชุดที่ 1 เรื่องกติกาฟุตบอล ข้อที่ 1-8 ชุดการเรียน ชุดที่ 2 เรื่องกติกาฟุตบอล ข้อที่ 9-17 แบบทดสอบย่อย ชุดการเรียนรู้ที่ 1-2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกติกาฟุตบอล ใช้รูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของ Lewin กำหนดวงจรปฏิบัติการ 2 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอลข้อที่ 1-8 และวงจรปฏิบัติการที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอลข้อที่ 9-17 ปฏิบัติการตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นสะท้อนการปฏิบัติการ ผลจากการปฏิบัติการพบว่า 1) ชุดการเรียนจำนวน 2 ชุดการเรียน ที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ ข้อดีและข้อบกพร่อง เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติการ จนได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ชุดการเรียนควบคู่ไปกับการสาธิตและฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจตามขั้นตอนปฏิบัติในคู่มือชุดการเรียน นักศึกษามีความกระตือรือร้น ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการเรียนรู้เป็นอย่างดี นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในระหว่างการฝึกปฏิบัติจริง รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอน นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นและกล้าซักถามอาจารย์ในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ อาจารย์ผู้สอนให้ข้อแนะนำและตอบข้อซักถามของนักศึกษาจนเกิดความเข้าใจ อาจารย์ผู้สอนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง มีการให้แรงเสริมทางบวกด้วยการชมเชย ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ เรียนด้วยความตั้งใจและมีความสุข และ 2) ผลการปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้เรื่องกติกาฟุตบอล รายวิชาการเป็นผู้ฝึก และการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาฟุตบอล ก่อนการปฏิบัติการและหลังการปฏิบัติการ มีนักศึกษาร้อยละ 97.37 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ที่มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, สมเชาว์ เนตรประเสริฐ และสุดา สินกุล. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.

ทวีศักดิ์ ศรีสุข. การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง “ ทักษะกระบี่ 1” โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปรางค์กู่
จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2551. (ออนไลน์) 8 กันยายน 2551. (อ้างเมื่อ 29 มกราคม 2561). จาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=957&bcat_id=16

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

บังอร อาจวิชัย. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องเพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. ถ่ายเอกสาร.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

ผกา สัตยธรรม. คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

พรรณี ชูทัยเจนจิต. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม, 2545.

พิมพ์ชนก พันธ์แจ่ม. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2549. ถ่ายเอกสาร.ราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัย. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา พ.ศ. 2556.
อัดสำเนา, 2556.

ลาภิศร เหมนิธิ. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุดจิกวิทยา จังหวัดนครราชสีมา (ออนไลน์) 2550 (อ้างเมื่อ 29 ธันวาคม 2551). จาก www.obec.go.th/new/show_news.php?artical_id=618&page=1

สุวิมล คับพวง. การปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านป่าเลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550. ถ่ายเอกสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20