การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสอบแบบเห็นโจทย์ล่วงหน้าร่วมกับการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ณรัช ไชยชนะ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประวิทย์ สิมมาทัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, การสอบแบบเห็นโจทย์ล่วงหน้า, การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสอบแบบเห็นโจทย์ล่วงหน้าร่วมกับการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ และ 2) ศึกษาผลจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสอบแบบเห็นโจทย์ล่วงหน้าร่วมกับการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เพื่อสังเคราะห์ร่างรูปแบบด้วยวิธีสนทนากลุ่ม และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ โดยทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 99 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 หมู่เรียน เป็นกลุ่มทดลอง 49 คน และกลุ่มควบคุม 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Independent Samples

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การสอบแบบเห็นโจทย์ล่วงหน้าร่วมกับการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ, วัตถุประสงค์, กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล แบ่งโครงสร้างเชิงเวลาออกเป็น 3 ส่วน คือ ก่อนเรียน (Pre-Class), ในชั้นเรียน (In-Class) และหลังเรียน (Post-Class) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า รูปแบบ SQUARe มาจากตัวอักษรย่อของกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ Study (ศึกษาเนื้อหา), Quiz (ทดสอบ), Understand (ทำความเข้าใจ), Apply (ประยุกต์ใช้) และ Review & Remedial (ทบทวนและซ่อมเสริม) รูปแบบ SQUARe มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQUARe สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQUARe ในระดับมาก

References

กนิษฐา บางภู่ภมร. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และคณะ. (2559, พฤษภาคม-สิงหาคม). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 26(2), 128-141.

กมลรัตน์ สมใจ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชลยา เมาะราษี. (2556). ผลการเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคม วิชาการวิเคราะห์และแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ทองปาน บุญกุศล, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ของนักศึกษาพยาบาล: การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. 561-568. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัศนีย์ หนูนาค. (2553). ผลของความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นภาเพ็ญ ภูหาด. (2558). การจัดรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นิชาภา บุรีกาญจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. 2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

________________. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางคอมพิวเตอร์ศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แดแน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

วรรณี ลิมอักษร. (2556). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา จำกัด.

วัชรี แซงบุญเรือง. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณภายใต้ สภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

อนรรฆ สมพงษ์. (2559). การศึกษาการดำเนินงานโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1. 3-13. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

อนุศร หงส์ขุนทด. (2558). การพัฒนารูปแบบระบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อ 3 แบบ ด้านทักษะดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัจฉรา เชยเชิงวิทย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Byron High School Mathematics Department. (2013). Types of Flipped Classroom. Retrieved from https://sites.google.com/a/byron.k12.mn.us/byron-high-school-mathematics-department/flipped-classroom/types-of-the-flipped-classroom.

Bergmann, Jonathan. & Sams, Aaron. (2012). Flip your classroom: reach every student in every class every day. USA: ISTE.

Bishop, Jacob Lowell, & Matthew A. Verleger. (2013). The flipped classroom: A survey of the research. ASEE National Conference Proceedings. Atlanta, GA. 30(9).

Brame, Cynthia J. (2013). Flipping the Classroom. Retrieved from: http://cft.vanderbilt.edu/files/Flipping-the-classroom.pdf

Joyce, B., & Well, M. (2000). Models of teaching (6th ed.). Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall.

Kemp, J. E., Morrison G. R., & Ross, S. M. (1998). Designing effective instruction (2nd ed.). Columbus: Mervill.

Koeniger, Charlotte. (2014). KHANACADEMY Fact Sheet Data as of February 1, 2014. Retrieved from https://dl.dropboxusercontent.com/u/33330500/KAFactSheet.zip

Lo, Chung Kwan., & Hew, Khe Foon. (2017). A critical review of flipped classroom challenges in K-12 education: possible solutions and recommendations for future research. Research and Practice in Technology Enhanced Learning. 12(4).

Moore, Kenneth D. (2009). Effective instructional strategies: from theory to practice (2nd ed.). USA: SAGE Publication.

Moraros, John., et al. (2015). Flipping for success: evaluating the effectiveness of a novel teaching approach in a graduate level setting. BMC medical education 15. 1, 27.

Novak, Gregor M., & Patterson Evelyn T. (1998). Just-in-Time Teaching : Active Learner Pedagogy with WWW. Retrieved from http://webphysics.iupui.edu/JITT/ccjitt.html

Russell M., Goldberg A., & O’Connor K. (2003). Computer-Based Testing and Validity: A Look Back and Into the Future. Retrieved from http://www.bc.edu/research/intasc/PDF/ComputerBasedValidity.pdf

Seery, Michael K. (2015). Flipped learning in higher education chemistry: emerging trends and potential directions. Chem. Educ. Res. Pract., 16, 758-768.

Strayer, Jeremy F. (2007). The effects of the classroom flip on the learning environment: A comparison of learning activity in a traditional classroom and a flip classroom that used an intelligent tutoring system. (Doctoral dissertation). USA: The Ohio State University.

Walvood, Barbara E., & Anderson, Virginia Johnson. (1998). Effective Grading: A Tool for Learning and Assessment. USA: Jossey-Bass.

Well, M., Joyce, B., & Kluwin. (1978). Personal models of teaching: expanding your teaching repertoire. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18