การสังเคราะห์รูปแบบการฝึกอบรมครูผ่านเว็บที่มีการจัดการความรู้ร่วมกับระบบสอนงาน

ผู้แต่ง

  • วัชรา สามาลย์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ประวิทย์ สิมมาทัน สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การฝึกอบรมผ่านเว็บ, การจัดการความรู้, ระบบสอนงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการฝึกอบรมครูผ่านเว็บที่มีการจัดการความรู้ร่วมกับระบบสอนงานสนับสนุน 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมครูผ่านเว็บ ที่สังเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการวิจัยการศึกษาและด้านการวัดผลประเมินผล ใช้วิธีการเลือกแบบบอกต่อ จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแนะนำต่อ ๆ กัน จำนวน 9 คน เพื่อร่วมจัดกลุ่มสนทนาและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมครูผ่านเว็บที่มีการจัดการความรู้ร่วมกับระบบสอนงานสนับสนุน ที่สังเคราะห์ขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของการฝึกอบรมครูผ่านเว็บที่มีการจัดการความรู้ร่วมกับระบบสอนงานสนับสนุน มี 4 องค์ประกอบคือ ด้านแนวคิดและทฤษฎี ด้านหลักการของรูปแบบการฝึกอบรม ด้านกระบวนการฝึกอบรมและด้านการวัดผลและประเมินผล ในขั้นตอนของกระบวนการฝึกอบรมมี 6 ขั้นตอน เรียกว่า “รูปแบบ G3S2A” 1) ขั้นกำหนดเป้าเรียนรู้ 2) ขั้นสู่การค้นหา 3) ขั้นสร้างมาแบ่งปัน 4) ขั้นคัดสรรเก็บไว้ 5) ขั้นประยุกต์ใช้เกิดผล 6) ขั้นทุกคนชื่นชม 2) รูปแบบของการฝึกอบรมครูผ่านเว็บที่มีการจัดการความรู้ร่วมกับระบบสอนงานสนับสนุน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.70 , S.D. 0.53) สามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการฝึกอบรมครูผ่านเว็บได้

References

กมลรัตน์ สมใจ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับอุดมศึกษา.(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.มหาสารคาม.

ณัฐรดา เจริญสุข, สุรินทร์ ชุมแก้ว & เกษราภรณ์ สุตตาพงค์ .(2558, มิถุนายน – สิงหาคม).กลยุทธ์การสอนงาน (Coaching) เพื่อสร้างสมรรถนะที่เป็นเลิศในการปฏิบัติงาน.WMS Journal Management. Walailak University, 4 (2), 60-66.

ทิพรัตน์ สิทธิวงษ์. (2548) “Web-base Training” : WBT .วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1) : 29 ; เมษายน, 2548.

ประวิทย์ สิมมาทัน. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัควิสต์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.กรุงเทพฯ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542 สิงหาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1.

วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์. (2555) .การพัฒนาโมเดลการฝึกอบรมบนเว็บโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

วิชัย ตันสิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษา ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชุดา รัตนเพียร.(2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทยเอกสารประกอบการประชุม โสตเทคโนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย 2542.กรุงเทพฯ :คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐกร คิดการ.(2551).การพัฒนารูปแบบการสอนบนเว็บโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้รายวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา.(ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์, นรีวรรณ พรหมชุม,วิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์,& นงนุข สุภาวัฒพันธ์. (2543). สรุปผลรายงานวิจัยและสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการ. ขอนแก่น. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Brockbank,Anne. And McGill,Ian. (2006). Facilitating Reflective Learning Through Mentoring & Coaching.Philadelphia: Kogan Page Limited.
Cronbach, L. J. (1970) . Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.

Na Ubon, A.; & Kimble, C.(2002). “Knowledge Management in Online Distance Education”. Proceeding of the 3rd International Conference Networked Learning 2002. UK: University of Sheffield.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18