การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ออนไลน์ที่เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ออนไลน์, การเสริมสร้างจินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ออนไลน์ที่เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มประชากรคือครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 236 คนจาก 236 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ออนไลน์ที่เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัญหาและความต้องการมีความสัมพันธ์กันในแต่ละด้านมีดังนี้ 1). ด้านหลักสูตรมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการเท่ากับ .63 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy=.63) กับสภาพความต้องการ 2). ด้านครูมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการเท่ากับ .61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy =.61) กับสภาพความต้องการ 3). ด้านนักเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการเท่ากับ .62 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy =.62) กับสภาพความต้องการ 4). ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการเท่ากับ .64 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy =.64) กับสภาพความต้องการ 5).ด้านการประเมินผลมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการมีค่าเท่ากับ .61 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy =.61) กับสภาพความต้องการ 6).ด้านสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและความต้องการมีค่าเท่ากับ .64 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าสภาพปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างสูง (rxy =.64) กับสภาพความต้องการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2553.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร,2555.
กุศล ศรีสารคาม. สถิติสำหรับการวิจัย และการประยุกต์ใช้ SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรม LISREL และ AMOS. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2560.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์, 2555.
เคน เคย์. “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: สำคัญอย่างไร คืออะไร และจะทำสำเร็จได้อย่างไร” ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แปลจาก 21st Century Skills : Rethinking
How Students Learn. โดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2556.
เครือข่ายครูน้อย. ความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking), http:// https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557.
ทิศนา แขมมณี. “ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้” ราชบัณฑิตยสถาน. 36(2) : 118-204 ; เมษายน-
มิถุนายน 2554.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2560.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. โครงการอบรม “การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน : CBL Creativity-Based Learning”,http://www.jsfutureclassroom.com/TraintheTeacher.html. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2557
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554.
สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัทดวงกมลสมัยจำกัด, 2549.