การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานออนไลน์ที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การเรียนรู้บนเว็บ, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, ระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน, การคิดแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานออนไลน์ที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน
เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ที่สังเคราะห์ขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา จากการเลือกแบบเจาะจง ได้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน เพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และจำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ที่สังเคราะห์ขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานออนไลน์ที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ กระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบ และการประเมินผลของรูปแบบ ในขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบ เรียกว่า “IPARE” มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นกำหนดหัวข้อโครงงาน 2) ขั้นวางแผนการทำโครงงาน 3) ขั้นการปฏิบัติการโครงงาน 4) ขั้นเขียนรายงานและนำเสนอ 5) ขั้นการประเมินผล 2) รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานออนไลน์ที่มีระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.68 ) สามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ได้
References
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).(2547). บันทึก สมศ. : กรุงเทพฯ
พรพรรณ ไวทยางกูร.(2554).การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย การพัฒนา - ผลกระทบ – ภาวะถดถอยในปัจจุบัน.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2558).สรุปผลการวิจัย PISA 2015.กรุงเทพฯ
บุปผชาติ หัฬหิกรณ์ และคณะ.(2546). เทคโนโลยีสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทรงศักดิ์ สองสนิท.(2552).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บโดยใช้พื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ทิศนา แขมมณี.(2545).ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนิรุทธ์ สติมั่น.(2550).ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ท่ีมีต่อการเรียนรู้แบบนาตนเองและผลสัมฤทธ์ิทางการ เรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ดษุฎีบณัฑิตสาขาเทคโนโลยีทาง การศกึษาบณัฑิตวิทยาลยัมหาวิทยาลยัศรีนคริรทรวิโรฒประสานมิตร.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์.(2551).การประยุกต์ใช้เทคโนโลยสีารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี.
สมปรารถนา ประกัตฐโกมล.(2550) คุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยง สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความตั้งใจพัฒนาบุคคลอื่นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเดือนเพ็ญ คงคะจันทร์และคณะ.(2550).Coaching/Mentoring. เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตรนักบริหารงานส่งเสริมสุขภาพระดับกลาง. สมุทรสาคร.
สนิท ตีเมืองซ้าย.(2552).การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Likert, S. (1961). New patterns of management.New York: McGraw-Hill.