การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างทางของกรมทางหลวงตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการที่ยั่งยืน, การเพิ่มขีดความสามารถ, การก่อสร้างทาง, กรมทางหลวงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวทาง และยุทธ์ศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ประชากร คือ บริษัทรับเหมาก่อสร้างทางชั้น 1 - 4 จำนวน 575 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดจำนวน 1,150 คน แต่ได้แบบสอบถามกลับมาจริง จำนวน 946 คน คิดเป็นร้อยละ 82.26 ของประชากรทั้งหมด 1,150 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.16, S.D.= 0.61) แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.10, S.D.= 0.64) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างทางของกรมทางหลวง ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.10, S.D.= 0.64)
References
กรมทางหลวง (2558). แผนยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวง พ.ศ. 2560 – 2564 .สำนักงานกรมทางหลวง.
กัญญพร ฉั่วสุวรรณ พายัพ พะยอมยนต์ และชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง (2560) ความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการ ของกรมทางหลวงชนบท.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย (5) 2 หน้า 68 – 80.
กรมทางหลวง (2560). ประวัติกรมทางหลวง สืบค้นออนไลน์ เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2560 จาก http://www.doh.go.th/doh/th/details/about-th/history.html
กรมทางหลวง (2560) "อำนาจหน้าที่ของสำนักก่อสร้างทางที่ 1-2 กรมทางหลวง" สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.doh.go.th/doh/images/pdf/jkm60-04-250716m7.1.pdf.
ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย. (2560). "ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของเทศบาลนครตามแนวคิดการ บริหารจัดการที่ยั่งยืน" วารสารปัญญาภิวัฒน์. (9) 2 .หน้า 120 - 130.
แผนยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวง พ.ศ. 2560 – 2564 .(2558) สภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางถนนของ ประเทศไทย . กรมทางหลวง.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์ (2559) "การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรายการเทิดพระเกียรติของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (9) 1 หน้า 214 - 226.
สีฟ้า แจ่มวุฒิปรีชา. (2559). การบริหารจัดการเพื่อให้บริการด้านการจัดเก็บขยะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหาร จัดการที่ยั่งยืน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). (8)16 .หน้า 54-65.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม.
สนิท ทองมา วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม (2559). ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของแขวงทาง หลวง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. (10) 1 หน้า 56-75.
Biernacki, Patrick. and Waldorf, Dan. (1981). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling”, Sociological Methods & Research, 10, 2 (1981): 141-163.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods