การบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • บุษบา สังขวิภา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, เทคโนโลยีที่ทันสมัย, บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน), แนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (3) ยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) กลุ่มตัวอย่าง ชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินไทยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,112 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 97% หรือที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.03 ใช้การสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็น โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แต่เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 892 ชุด/คน (n=892) คิดเป็นร้อยละ 80.22 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,112 คน  เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.06, S.D.= 0.67) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 2.45, S.D.= 0.59) ส่วนยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 2.49, S.D.= 0.60)

References

กัลยา งามพร้อมสกุล และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). "การจัดการเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของเทศบาลใน จังหวัดสมุทรสาคร" วารสารสมาคมนักวิจัย. (21)2 หน้า 215 - 229.

มนสินี เลิศคชสีห. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินการบินไทย สำหรับการให้บริการภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการ บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐกาณต์ ชินวงศ์อมร (2558). กลยุทธ์คุณภาพการให้บริการสายการบินที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ สายการบน ระหว่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออนไลน์สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2560 จาก เว็บไซต์ http://www.thaiairways.com/th_TH/about_thai/company_profile/index.page)

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (2560). รายงานประจำปี 2560 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). คณะบริษัท การ บินไทย จำกัด (มหาชน).

ปรีชา คฤหวาณิช และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2560). ศักยภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. (14)1 หน้า 234-248

สถิติขนส่งทางอากาศศูนย์ข้อมูล บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), 2560 สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2560 จาก เว็บไซต์ http://www.aotth.listedcompany.com/transport.html)

สุวรรณิน คณานุวัฒน์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง ดร.ทองหล่อ วงษ์อินทร์ และดร.บุญเรือง ศรีเหรัญ (2557). การบริหารจัดการกลยุทธ์เพื่อสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขัน ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย. (19)2 หน้า 136 – 144.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.ศูนย์ข้อมูลข่าวสารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออนไลน์สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 จากเว็บไซต์ http://publicinfo.thaiairways.com/general-information.htm

Biernacki, Patrick. and Waldorf, Dan. (1981). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling”, Sociological Methods & Research, 10, 2 (1981): 141-163.

Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.

Yamane, Taro. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25