รูปแบบการพึ่งตนเองของชุมชนชาวอโศก
คำสำคัญ:
การพึ่งตนเอง, ชุมชนชาวอโศก, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพึ่งตนเองของชุมชนชาวอโศก 2) ศึกษารูปแบบการพึ่งตนเองของชุมชนชาวอโศก โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ สมณะ สิกขามาตุและญาติธรรม จำนวน 1,671 คน ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตาราง Krejcie & Morgan และการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 310 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน ผลการศึกษาสภาพการพึ่งตนเองของชุมชนชาวอโศก พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี การประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 20,001 บาทขึ้นไปและมีสถานภาพเป็นญาติธรรม ความคิดเห็นของชุมชนชาวอโศกส่วนใหญ่มีรูปแบบการพึ่งตนเอง ด้านความพอประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (= 4.69, S.D.= 0.54) รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม (= 4.68, S.D. = 0.53) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเทคโนโลยี (= 4.13, S.D. = 1.03) และรูปแบบการพึ่งตนเองของชุมชนชาวอโศกพบว่าประกอบด้วย 13 ปัจจัย ได้แก่ 1.ด้านเทคโนโลยี (Technology : T) 2. ด้านเศรษฐกิจ (Economic : E) 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Resource : R) 4. ด้านจิตใจ (Mind : M) 5. ด้านกลุ่มคน-ระเบียบสังคม (Socio-Cultural : S) 6. ด้านความสมดุล (Balance: B) 7. ด้านความสามารถ (Ability : A) 8. ด้านเครือข่าย (Networking : N)9. ด้านความพอประมาณ10. ด้านความมีเหตุผล11. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี 12. การมีความรู้ และ13.ด้านคุณธรรม
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2556). การสร้างความเป็นมนุษย์ : สมบูรณ์แล้วหรือ?. วารสารนักบริหาร, ปีที่ 33 ฉบับที่2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2556, หน้าที่ 26-34
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ประจำประเทศไทย). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย: เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน. 2550. วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2561. จากเว็ปไซต์ http://www.un.or.th/th/staff/
จิติมา อานสกุลเจริญ. (2558). ชนชั้นและยุคสมัยการเมืองการปกครองไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 5ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2558, หน้าที่ 166-167
จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การตีความเชิงวิพากษ์ว่าด้วยมิติทางวัฒนธรรมจากมุมมองหลังสมัยใหม่. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, ปีที่ 47 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2550, หน้าที่ 1-44
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. (2553). การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยมิติทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี.วารสารบัณฑิตศึกษา, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2553, หน้าที่ 11-12
ชนินทร์ วะสีนนท์, สมบูรณ์ ชาวชายโขง, และธวัชชัย คุณวงษ์. (2552). คนรุ่นใหม่กับการจัดการท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2552, หน้าที่ 75-86
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีทางจริยธรรม : การวิจัยและพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานทหารผ่านศึก. 2544.
ทัศนียา บริพิศ. (2557). วัฒนธรรมบริโภคนิยม ทุนนิยมและสัญญะ. วารสารอาศรมวลัยลักษณ์,ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2557, หน้าที่ 39-42
ธเนศ ปานหัวไผ่. (2557). ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธ : กรณีศึกษา
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมโม). วารสารมนุษยศาสตร์, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2557, หน้าที่ 193-216
นพพร จันทรนำชู. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์, ปีที่ 14 ฉบับที่2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2559, หน้าที่ 64-73
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์. 2551.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2548). การพัฒนาสังคม : แนวคิด ทฤษฎี และยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจการเมืองคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548.
พรนิภา จันทร์น้อย. (2552). การดำเนินชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2552, หน้าที่12-23.
พัทรา ผดุงสุทรารักษ์. (2555). ผลงานสร้างสรรค์ ประติมากรรมชุด ผิดที่ผิดทาง. วารสารวิขาการมหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555, หน้าที่ 147-155
พระมหารัตนะ หงส์อินทร์. (2558). ผ้าไตรจีวร : การศึกษาภูมิปัญญาความเชื่อและการผลิตเพื่อเศรษฐกิจชุมชนแบบบุญนิยม กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2558.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โครงการสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). 2547.
เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2559). “การพัฒนาชุมชน : แนวคิด ขอบข่าย และหลักในการปฏิบัติของนักพัฒนา”.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2559, หน้าที่ 89-99
วชิรวิชญ์ สิรชัยพงศ์กุล, วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารการจัดการธุรกิจ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2556, หน้าที่ 98-120
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2554). การพัฒนาเกษตรทดแทน : กรณีศึกษาจากหน่วยสุขภาพในเขตภาคกลาง. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2554, หน้าที่ 47-66
วิทยา เรืองฤทธิ์ และ ฮอง ฉาง เชี๊ยะ. (2555). จากแหล่งศูนย์กลางของสถานีสู่แหล่งศูนย์กลางของกระแสการไหล : หลักฐานหนึ่งจากภูมิภาคเมืองโคราช, การใช้วิธีทางเครือข่าย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, ปีที่ 52 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2555, หน้าที่ 137-157
วีรชัย โกแวร์. (2558). ฝึกคิด. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2561. จากเว็ปไซต์http://www.romyenchurch.org
สมนึก ปัญญาสิงห์. (2557). การพัฒนาตนเองและตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครับเกษตรกรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557, หน้าที่ 121-138
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2550.
สีสะหวัน วงศ์กตัญญู. (2558). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการพึ่งตนเองของประชาชน กลุ่มครัวเรือนทำไร่หมุนเวียน : กรณีศึกษา บ้านโนนสมบูรณ์ เมืองวิละบุรี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษา, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2558, หน้าที่ 91-100
สุวิดา แสงสีหนาท. “ชุมชนใหม่ลายคราม : ยุทธศาสตร์ทางเลือกในการพัฒนาประเทศไทย” ใน 99 ปีพุทธทาสภิกขุ ศาสนากับฟิสิกข์ใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. 2548.
สํานักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548.
อภิชา พรเจริญกิจกุล. (2558). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอำเภอดอนตูมจังหวัดนครปฐม. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2558, หน้าที่ 122-123
อภิชาติ กิตติศักดิ์นาวิน, ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2559 ). การพัฒนาตัวแบบการจัดการนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงของปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, ปี่ที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2559, หน้าที่ 103-115
อภิศักดิ์ ธีระวิศิษฐ์. (2553). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครัวเรือนอีสาณในยุคโลกาภิวัตน์.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปี่ที่ 27 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2553, หน้าที่ 3-27