บทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของธนาคารออมสิน

ผู้แต่ง

  • สุขศรี พูลสุข สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ตรีเนตร ตันตระกูล สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบ, ความยั่งยืน, ธนาคารออมสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของธนาคารออมสิน วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของธนาคารออมสิน (2)เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานองค์กรต่อความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของธนาคารออสิน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากโดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้บริหาร พนักงานธนาคารออมสิน และลูกค้าธนาคารออมสินจำนวน 400 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางแสดงการกระจายค่ามิติสัมพันธ์แบบฉันทามติ ค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล และการวิเคราะห์กลยุทธ์แบบ TOWS Matrix

ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของธนาคารออมสินเป็นความสามารถขององค์กรในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเน้นการจัดการของตัวชี้วัดที่สำคัญของการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต ได้แก่ ภาวะผู้นำ การกำกับดูแลและกลยุทธ์องค์กร การจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงสร้างเชิงสาเหตุของตัวชี้วัด เหล่านี้พบว่าตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมการกำกับดูแลและกลยุทธ์องค์กรตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในฐานะที่เป็นผลลัพธ์สุดท้ายเห็นว่าความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการจัดการลูกค้าสัมพันธ์การมุ่งเน้นการตลาด โดยความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสำคัญต่อการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการยอมรับของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ องค์กรที่มีจุดแข็งในเรื่องภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรความพร้อมทางด้านบุคลากรและทรัพยากร และมีการดำเนินการการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว สามารถต่อยอดไปสู่การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนได้โดยการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม

References

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2553). เครื่องมือการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: แซทโฟร์พริ้นติ้ง.

บรินดา สัณหฉวี. (2558). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในอุตสาหกรรมส่งออกอาหารไทยไปตลาด สหภาพยุโรป. วารสารเซนต์จอห์น. 142-143.

ธนาคารออมสิน. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคม: รายงานพิเศษความรับผิดชอบต่อสังคม ปี2556.

ธนาคารออมสิน. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคม: รายงานพิเศษความรับผิดชอบต่อสังคม ปี2559.

Chang, H.H. (2007). Critical factors and benefits in the implementation of customer relationship management. Total Quality Management & Business Excellence, 18(5), pp. 483-508.

Chang, N.J., & Fong, C.M. (2010).Green product quality, green corporate image, green customer satisfaction, and green customer loyalty. African Journal of Business Management, 4(13), pp. 2836-2844.

Coltman, T.R., Devinney, T.M., &Midgley, D.F. (2010).Customer relationship management and firm performance. INSEAD Working Papers Collection, pp. 1-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26