การเรียนรู้การแก้ปัญหาในชุมชน ผ่านการสะท้อนคิดใน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
คำสำคัญ:
การสะท้อนคิด, การเรียนรู้ในชุมชน, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสะท้อนคิดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในชุมชน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักคือสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 32 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ในชุมชน ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นการพบความจริง การใช้การสืบสอบทางวิชาการและการให้คุณค่านอกเหนือจากห้องเรียน ส่วนผลลัพธ์การเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า นักศึกษามองเห็นความเปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยคือ สามารถระบุผลลัพธ์ของการทำงานในชุมชนได้ ขั้นตอนคงไว้ซึ่งการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดด้วยแรงจูงใจของตนเอง และรู้สึกประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานในชุมชน ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่า การสอนแบบสะท้อนคิดถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้การพยาบาลอนามัยชุมชน และสามารถใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด ในการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลได้
References
กรรณิกา วิชัยเนตร (2557). การสะท้อนคิด : การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557 ; 6(2) : 189 – 199.
จิราวัฒน์ วีรังกร. (2559). ทิศทางการพัฒนานักศึกษากับ Thailand 4.0 แลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณภาพการจัดกิจกรรมนักศึกษา. กรุงเทพ: กองกิจการนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดุจเดือน เขียวเหลืองและคณะ. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2556 ; 15(4) : 9 – 21.
ลัดดา เทียมวงศ์และคณะ. ประโยชน์และอุปสรรคของการฝึกสะท้อนคิดในนักศึกษาพยาบาลวารสารพยาบาลตำรวจ 2557 ; 6(2) : 121 – 130.
พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์, พัชรี วรกิจพูนผล. ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านบันทึกการสะท้อนคิดประจำวันในการฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพเด็กของนักศึกษาพยาบาล.Journal of Nursing and Education 2008;1(2).
วัลภา คุณทรงเกียรติ. การสะท้อนคิดด้วยตนเองเพื่อการเอื้ออาทร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2543 ; 8(3): 32-36.
Burns, S., Bulman,C., & Palmer, A (2000) Reflective practice in nursing : The growthof the professional practitioner. Oxford: Blackwell Science.
Burton, A., J, (2000) Reflection: nursing’s practice and education panacea Jounal of Advanced Nursing .,33(4), 361-374.
Chong, M., C, (2009) Is reflective practice a useful task for student nurses Asian Nursing Research.,3(3), 111-120.
Epp, S. (2008). The value of reflective journaling in undergraduate nursing education: a literatureReview. International Journal of Nursing Studies ., 45(9), 1379 – 1388.
Gibbs G. (1998). Learning by doing: A guide to teaching and learning methods. Oxford Further Education Unit.
Hamilton, J., & Druva, R (2010). Fostering appropriate reflective learning in undergraduateradiography course. Radiography., 16, 339-345.
Getliffe, K., A. (1996). Reflection in the assessment of practice for undergraduate nursing students.J Nurse Students., 33(4), 361-374.
Hargreaves, J. (2004). So how do you feel about that? Assessing reflective practice. Nurse Education Today., 24, 196-201.
Johnson, C. and Bird, J. (1998). Teaching Reflective Practice. Occasional Paper; University of Wales, College of Medicine.
McMillan JH , (2009). Hearn J. Student Self-Assessment : The Key to Stronger Student Motivation and Higher Achievement. Educ Dig., 74(8), 39-44.
Shields, E. (1995). Reflection and learning in student nurses. Nurse Education Today., 15, 452-458.Schon, D.A. The Reflective Practitioner-how professionals think in action. Aldershot; Arena.
Teekman,B. (2000). Exploring reflective thinking nursing., 31(5), 1139-44.