การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุนันทา ส้มอ่ำ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • ถาวร สารวิทย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • ชูชีพ พุทธประเสริฐ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ระบบ, การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร 3) พัฒนาคู่มือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติการในการใช้ระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร โดยการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสอบถาม 508 ฉบับ และการสัมภาษณ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน 2) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน 3) การพัฒนาคู่มือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการ ในการใช้ระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร ที่พัฒนาโดยผู้วิจัย ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน

               ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร พบว่า สภาพการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ โดยรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ปัญหาการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ได้แก่ งบประมาณไม่เพียงพอ บุคลากรในสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และความต้องการ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ จัดทำแนวทางดำเนินการ และดำเนินการตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และการจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรวมความถี่สูงสุด ได้แก่ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
  2. ผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร พบว่า ระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร ประกอบด้วยระบบย่อย 8 ด้าน ขับเคลื่อนด้วยการบริหารเชิงระบบ และกระบวนการคุณภาพของเดมมิ่งทุกขั้นตอน ผลการประเมินระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในระดับมาก
  3. ผลการพัฒนาคู่มือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติการในการใช้ระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร พบว่า คู่มือ มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วย ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 โครงสร้าง และหน้าที่ความรับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายใน บทที่ 3 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพ บทที่ 4 ขั้นตอนการดำเนินการ และบทที่ 5 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติการ และส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม โดยผลการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า มีความเหมาะสม ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด

References

กฤษฎิ์ พลไทย. (2553). การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน. ชุมพร: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร

เกษม อุ่นมณีรัตน์. (2559). แนวปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1, สำนักงาน. (2558). ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557. กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2, สำนักงาน. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557. กลุ่มงานวัดและ ประเมินผลการศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

______. (2558). รายงานผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

ชนันชิดา รัตนปราณี. (2553). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองจานอำเภอขามสะแกแสงจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีป จันทร์เจริญ. (ม.ป.ป.). ก้าวไกลของการประกันคุณภาพการศึกษา. [Online]. Available: http://www.moe.go.th/. [2558 พฤศจิกายน 27].

ทิภาวรรณ เลขวัฒนะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การทดสอบและวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เทคโนโลยีสยาม (สยามเทค), วิทยาลัย. (ม.ป.ป.). คู่มือแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค). สำนักประกันคุณภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค).

เทวิน ศรีดาโคตร. (ม.ป.ป.). การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน. [Online]. Available: www.lib.ubu.ac.th/. [2017, ธันวาคม 4].

ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ และจารุวรรณ ยอดระฆัง. (2552). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน. กรุงเทพ ฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

นิติธร ปิลวาสน์. (ม.ป.ป.). การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance in Education). [Online]. Available: http://taamkru.com/th/. [2559, เมษายน 10].

ประกันคุณภาพการศึกษา, ฝ่าย. (ม.ป.ป.). ขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา. โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. [Online]. Available: http://www.dara.ac.th/eqsdara/?name

ประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คณะกรรมการ. (2554). กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.

ประภาพรรณ อุ่นอบ. (2550). การประเมินโครงการ (Program Evaluation). [Online]. Available:http://dpc5.ddc.moph.go.th/KM/TC/ka2.pdf. [2559, กุมภาพันธ์ 9].

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (ม.ป.ป.). [Online]. Available: https://www.mwit.ac.th/. [2558, กันยายน 7].

เรืองชัย จรุงศิริวัฒน์. (ม.ป.ป.). เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน. เอกสารประกอบการอบรม ข้าราชการและพนักงาน สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเพื่อทำผลงานทางวิชาการในการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็นระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันเพ็ญ ปราศรัย. (2557). การขับเคลื่อนกลยุทธ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านสะแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. โครงร่างวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วิกิซอร์ซ. (2558). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. [Online]. Available: https://th.wikisource.org/wiki/. [2559, เมษายน 12]. วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, สำนัก. (ม.ป.ป.). ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. [Online]. Available: http://arit.chandra.ac.th/sar/process.pdf. [2559, กุมภาพันธ์ 12].

สมเดช สีแสง. (2549). การพัฒนาระบบส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สรรญ จินตภวัต. (2557). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual Development). [Online]. Available: http://nkr.mcu.ac.th/km/wp-content/uploads/2017/. [2017, ธันวาคม 4].

สรายุทธ กันหลง. (2555). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan). [Online]. Available: http://www.ipernity.com/blog/. [2559, กุมภาพันธ์ 11].

สำเริง อ่อนสัมพันธ์. (2549). ระบบการควบคุมทางการบริหารโรงเรียนในฝันโดยใช้การบริหารแบบสมดุล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เสถียร คามีศักดิ์. (2553). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. นครนายก: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หลักการประกันคุณภาพภายใน: ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน. (ม.ป.ป.). [Online]. Available: www.v-bac.ac.th/pdf/Know/t03_4.pdf. [2559, เมษายน 17].

อวยพร เรืองตระกูล. (2553). การประเมินสมัชชา. [Online]. Available: http://benjamas_b. igetweb.com/index.php?mo=3&art=436787. [2559, กุมภาพันธ์ 9].

อัญชลี อินทกาโมทย์. (2554). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน บนพื้นที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bemler. (ม.ป.ป.). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ. [Online]. Available: https://bemler.wordpress.com/2014/04/17/. [2559, กุมภาพันธ์ 11].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26