การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

ผู้แต่ง

  • จิรัฐิติกาล บุญอินทร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • ถาวร สารวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • ชวน ภารังกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 3. เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 และ 4. เพื่อจัดทำคู่มือและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางปฏิบัติในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย โรงเรียน 85 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์องค์ประกอบ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพ ปัญหา และความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ด้านสภาพในภาพรวมมีการปฏิบัติระดับน้อย ปัญหาในภาพรวมมีปัญหาระดับมาก และด้านความต้องการในภาพรวมมีความต้องการระดับมาก 2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 การพัฒนามี 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย 17 องค์ประกอบ และมาตรการ 70 ตัว 3. ผลการประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก และคู่มือมีผลการประเมิน มีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

References

กาญจณี โชติสุข และ กิติยา ทองแกมนาค (2552). สภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์สูงสุด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ขัตติยา ด้วงสำราญ (2552).รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. การบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

คัมภีร์ สุดแท้, สมชาย วงศ์เกษม และสุวิมลโพธิ์กลิ่น. (2553, พฤษภาคม - สิงหาคม). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียน ขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ว.มรม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ธวัชชัย สิงห์จันทร์. (2551). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงราย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. [Online]. Available: http://www.thailis.or.th/. [2555, ตุลาคม 20]

ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของ ชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึด หลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพจิตร ศรีโนนยาง. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาต่อภาวะผู้นำ ทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธ์ เขต 2. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณวิษา เภาวิเศษ. (2549). สภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใน โรงเรียนประถมศึกษา.

วิภา ทองหงํา. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรชาติ วิลาศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย.

สุริยันต์ อินทเจริญศานต์. (2552). การบริหารวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหาร. (พิมพครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์บรรณกิจ.

อัญชลี โกอนันต์ตระกูล.(2556). การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานนักประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ: กรณีศึกษานักประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

อิทธิเดช สิทธิจันทร์. (2553). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเขตตําบลท่ากระดาน. สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำภา บุญช่วย. (2553). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26